วันเสาร์ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ปัญหาความขัดแย้งระหว่างจีนกับญี่ปุ่น




เมื่อวันเสาร์-อาทิตย์ที่ 9-10 และ 16-17 เมษายน 2005 ชาวจีนนับหมื่นได้พากันไปชุมนุมเดินขบวนต่อต้านญี่ปุ่นตามเมืองใหญ่ๆ ของจีน (ทำนองเดียวกันกับที่เกิดขึ้นในเกาหลีใต้) เหตุใดพวกเขาจึงทำเช่นนั้น พวกเขาต้องการอะไร จีนกับญี่ปุ่นมีเหตุแค้นเคืองอะไรกันหรือ มีผลประโยชน์ร่วมกันหรือไม่ และพวกเขาจะแก้ปัญหาความขัดแย้งกันได้หรือไม่เพียงใด บทความนี้จะวิเคราะห์ให้เห็นอย่างย่อๆ
1. การชุมนุมต่อต้านญี่ปุ่นในจีน
คนจีนผู้ชุมนุมเดินขบวนต่อต้านญี่ปุ่นในเมืองใหญ่ๆ (เช่นปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ เทียนจิน เฉิงตู อู่หั่น กว่างโจว เซินเจิ้น เป็นต้น) ส่วนมากโบกสะบัดธงจีน ร้องเพลงชาติ ตะโกนคำขวัญ เป็นจังหวะจะโคน พอไปถึงสถานทูต สถานกงสุล บริษัทและห้างสรรพสินค้าญี่ปุ่น มักจะมีคนเลือดร้อนจำนวนหนึ่งล้ำแถวออกไปใช้สีป้ายตามหน้าประตู บ้างก็ใช้วัตถุขว้างปาอาคาร มีกระจกแตกและทรัพย์สินเสียหายประปรายตามสถานทูตและสถานกงสุลญี่ปุ่น พวกเขาต้องปะทะกับตำรวจรักษาความปลอดภัยที่ทำการห้ามปรามพอเป็นพิธี1
ในระหว่างนี้ คนจีนที่ใช้อินเตอร์เนตทั่วประเทศจำนวนมาก ยังรณรงค์ล่ารายชื่อสนับสนุนข้อเรียกร้องของพวกเขา ให้ช่วยกันต่อต้านลัทธิทหารนิยมญี่ปุ่นที่กำลังบิดเบือนประวัติศาสตร์ คว่ำบาตรไม่ซื้อสินค้าญี่ปุ่น ให้ปกป้องอธิปไตยเหนือหมู่เกาะเตี้ยวหยู คัดค้านความพยายามของญี่ปุ่นที่จะเข้าเป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ (ซึ่งจีนเป็นหนึ่งใน 5 ประเทศที่อาจใช้สิทธิยับยั้งได้) ข่าวกระแสหนึ่งอ้างว่าพวกเขาได้รายชื่อมาแล้ว 25 ล้านคน2 ความจริง คนจีนที่มีอารมณ์ร่วมในการต่อต้านญี่ปุ่นคงจะมีไม่ต่ำกว่า 80 % ของผู้ที่บรรลุนิติภาวะแล้ว แต่จะเห็นด้วยกับการแสดงตัวอย่างไรนั้นเป็นคนละประเด็น
หนังสือพิมพ์โยมิอูริรายวัน (The Daily Yomiuri ซึ่งอ้างใน The Nation, April 15, 2005, 12A) ซึ่งสนับสนุนจุดยืนของรัฐบาลญี่ปุ่น ตำหนิทางการจีนว่า ตำรวจจีนไม่สนใจที่จะขัดขวางห้ามปรามกลุ่มบุคคลที่เข้าไปทำการขว้างปาสถานทูตญี่ปุ่น เป็นการละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศคือ ละเมิด Vienna Convention on Diplomatic Relations
โฆษกกระทรวงการต่างประเทศของจีน นายฉิน กัง ได้แถลงต่อผู้สื่อข่าวเมื่อวันที่ 12 เมษายน ว่า การชุมนุมประท้วงญี่ปุ่นของคนจีน เป็นเรื่องการตอบโต้โดยอัตโนมัติของคนจีน ที่พวกเขาถูกเหยียดหยามโดยตำราเรียนประวัติศาสตร์ ที่บิดเบือนเกี่ยวกับการรุกรานของญี่ปุ่นในจีน ปกปิดอาชญากรรมของญี่ปุ่น และเทิดทูนการรุกรานของญี่ปุ่นต่อเพื่อนบ้าน เขาย้ำว่าเรื่องนี้จะอ้างว่าเป็นเรื่องภายในของญี่ปุ่นไม่ได้3
2. ปัญหาและความแตกต่างของมุมมองและผลประโยชน์
สัมพันธภาพจีน-ญี่ปุ่นเสื่อมทรามลงเรื่อยๆ ตั้งแต่นายโคอิซูมิ จุนอิชิโร ขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรีปี 2001 พลังสันติภาพในญี่ปุ่นอ่อนตัวลง สวนทางกับการขยายอิทธิพลของพวกชาตินิยมฝ่ายขวาที่ส่งเสริมลัทธิทหารนิยม ทั้งในและนอกกลไกของรัฐ ซึ่งพวกนี้มีมุมมองและผลประโยชน์แตกต่างกับจีนในประเด็นที่สำคัญคือ
2.1 เรื่องตำราประวัติศาสตร์ในระดับมัธยมศึกษา ซึ่งเป็นชนวนก่อให้เกิดการประท้วงในจีน (และเกาหลีใต้) อย่างอื้อฉาวในปัจจุบัน ความจริงการแก้ไขตำราประวัติศาสตร์ของญี่ปุ่น เป็นปัญหาเรื้อรังมาตั้งแต่ปี 1982 พวกชาตินิยมฝ่ายขวาญี่ปุ่นต้องการแสดงให้เห็นว่า ญี่ปุ่นมีอำนาจอธิปไตยในการเขียนประวัติศาสตร์ของตนเอง ลบภาพไม่ดีในอดีตของญี่ปุ่นออก เพื่อให้เยาวชนภูมิใจในประวัติศาสตร์ของชาติญี่ปุ่น การอนุมัติตำราประวัติศาสตร์ทุกครั้ง จะมีคนญี่ปุ่นที่ใฝ่สันติภาพร่วมกับชาวต่างชาติจับตาดู และทุกครั้งจะสร้างปัญหาความไม่พอใจให้แก่คนในประเทศที่เคยถูกญี่ปุ่นย่ำยี ครั้งล่าสุดที่เป็นปัญหาตึงเครียดระหว่างจีนกับญี่ปุ่นนั้น ก็มาจากคำอนุมัติของกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อวันที่ 5 เมษายน 2005 ที่ให้ใช้ตำราประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น 8 เล่มในระดับมัธยมศึกษา ซึ่งฝ่ายต่อต้านญี่ปุ่นพากันประณามว่าบิดเบือนความจริง ไม่พูดถึงความโหดร้ายของทหารญี่ปุ่นที่บังคับสาวจีนเอาไปปรนเปรอทางเพศบ้าง ไม่พูดถึงการฆ่าหญิงและเด็กด้วยความทารุณบ้าง มีอยู่ 5 เล่มที่พูดถึงการสังหารหมู่ที่เมืองหนานจิงว่าเป็น “เหตุการณ์” (incident) ธรรมดา4
ส่วนจีนที่ต่อต้านญี่ปุ่นก็มุ่งหวังให้ญี่ปุ่นต้องพูดความจริง ญี่ปุ่นเป็นหนี้จีนในทางประวัติศาสตร์ รัฐบาลญี่ปุ่นมีพันธะที่จะต้องบอกเล่าความจริงให้เด็กทราบ คนญี่ปุ่นในอนาคตจะได้ไม่ไปก่อกรรมทำเข็ญกับประเทศอื่นอีก
2.2 ผู้นำญี่ปุ่นโดยเฉพาะอย่างยิ่งนายกรัฐมนตรี นิยมไปทำพิธีเคารพดวงวิญญาณของทหารญี่ปุ่นที่ตายในสนามรบ รวมทั้งนายพลโตโจ้ ฮิเดกิ และคณะ ที่ถูกศาลอาชญากรระหว่างประเทศประหารชีวิตในฐานะเป็นอาชญากรสงครามด้วย5 นายกรัฐมนตรีโคอิซูมิ จุนอิชิโร ไปประกอบพิธีกรรมนี้มิได้ขาดตั้งแต่ขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรีในปี 2001 ทุกครั้งคนเกาหลีและคนจีนจะออกมาประท้วงและประณามญี่ปุ่น หาว่าผู้นำญี่ปุ่นปลุกวิญญาณลัทธิทหารนิยม เพราะทหารเหล่านั้นเป็นสัญลักษณ์แห่งความโหดเหี้ยมของญี่ปุ่นที่เข้าไปทำลายชีวิตและทรัพย์สินของพวกเขา แต่รัฐบาลญี่ปุ่นเห็นว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องภายในของตน
2.3 เรื่องปัญหาการโต้แย้งกรรมสิทธิ์เหนือหมู่เกาะเตี้ยวหยู (ญี่ปุ่นเรียกว่าเซ็นกากุ) สำหรับจีนนั้นถือว่าหมู่เกาะนี้เป็นของจีนอย่างชัดเจน หมู่เกาะนี้อยู่ห่างจากไต้หวันไปทางเหนือเพียง 200 กิโลเมตร ญี่ปุ่นยึดไปพร้อมกับไต้หวันในปี 1895 เมื่อญี่ปุ่นพ่ายแพ้สงครามโลกครั้งที่ 2 ต้องคืนเกาะไต้หวันให้กับจีนก็ต้องคืนหมู่เกาะเตี้ยวหยูด้วย ส่วนญี่ปุ่นนั้นได้สหรัฐฯ หนุนหลัง เมื่อยึดครองโอกินาวาของญี่ปุ่นอยู่ ก็เหมาเอาว่ายึดครองหมู่เกาะเซนกากุด้วย (ซึ่งความจริงในสมัยนั้นไม่มีคนหรือสิ่งก่อสร้างอยู่เลย) ขณะนี้ญี่ปุ่นใช้กำลังกองทัพเรือปกป้องอยู่ รัฐบาลจีนเรียกร้องให้มีการเจรจา ตกลงเรื่องนี้ตลอดมา แต่ก็ยังไม่มีอะไรคืบหน้า6
2.4 ปัญหาการสำรวจขุดเจาะหาน้ำมันและแก๊สในทะเลจีนตะวันออก (เหนือเกาะเตี้ยวหยู) ที่จริงนั้นปัญหาพรมแดนจีน-ญี่ปุ่นในน่านน้ำทะเลเกือบจะไม่มี ญี่ปุ่นอ้างพรมแดนโดยใช้หลักเขตเศรษฐกิจจำเพาะ (economic exclusive zone) ส่วนจีนอ้างพรมแดนโดยใช้หลักไหล่ทวีป (continental shelf) ฝ่ายจีนได้อนุมัติให้บริษัทแก๊สเข้าไปทำการตั้งแต่ปี 2003 ญี่ปุ่นประท้วงขอให้จีนระงับการปฏิบัติการโดยให้เหตุผลว่าแก๊สซึ่งอยู่ใต้ทะเลในเขตญี่ปุ่น อาจไหลเข้าไปในเขตแดนจีนเพราะถูกดูด จีนมีท่าทีเพิกเฉยต่อคำทักท้วง ในวันที่ 13 เมษายน รัฐบาลญี่ปุ่นตอบโต้ โดยการประกาศอนุมัติให้บริษัทญี่ปุ่นไปทำการสำรวจแก๊สในเขตของตน ซึ่งฝ่ายจีนอ้างกรรมสิทธิ์ทับซ้อน ฝ่ายจีนประท้วง แต่ฝ่ายญี่ปุ่นคงไม่สนใจ เพราะเป็นเวลาที่ความสัมพันธ์จีน-ญี่ปุ่นกำลังตึงเครียด เนื่องจากมีเหตุการณ์เดินขบวนต่อต้านญี่ปุ่น ดังได้กล่าวแล้ว7
2.5 ผลประโยชน์สำคัญอีกประการหนึ่งของญี่ปุ่นคือ ความปรารถนาที่จะมีที่นั่งถาวรในคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ เป้าประสงค์นี้จะสำเร็จได้ยากถ้าจีนไม่สนับสนุน (เพราะจีนมีสิทธิยับยั้งในฐานะหนึ่งใน 5 มหาอำนาจ) ก่อนหน้าการเดินขบวนประท้วงญี่ปุ่นในจีน เมื่อวันที่ 9-10 เมษายน ทางการจีนสงวนท่าทีเกี่ยวกับเรื่องนี้ แต่แล้วท่าทีของรัฐบาลก็เด่นชัดขึ้น เมื่อนายกรัฐมนตรีเวินเจียเป้าของจีนได้ประกาศที่กรุงนิวเดลฮีเมื่อวันที่ 12 เมษายนว่า “มีแต่ประเทศที่รู้จักเคารพความจริงในประวัติศาสตร์ และมีความรับผิดชอบต่อสิ่งที่เกิดขึ้นเท่านั้น ที่จะสามารถชนะใจประชาชน จนได้รับความไว้วางใจให้เข้ามามีส่วนร่วมรับผิดชอบที่สูงขึ้นต่อประชาคมนานาชาติ”8 ณ ที่นั่น ผู้นำจีนได้เปิดเผยท่าทีของจีน ที่จะสนับสนุนอินเดียให้มีที่นั่งถาวรในคณะมนตรีความมั่นคงสหประชาชาติ
2.6 ปัญหาอื่นๆ ที่ฝ่ายจีนและฝ่ายญี่ปุ่นมีผลประโยชน์ขัดกันยังมีอีกมาก เช่น ปัญหาไต้หวันซึ่งญี่ปุ่นได้ร่วมมือกับสหรัฐฯ ในการปกป้องไต้หวัน ซึ่งจีนถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของจีน ญี่ปุ่นร่วมมือกับสหรัฐฯ เกี่ยวกับการสร้างอาณาจักรป้องกันขีปนาวุธ (Theatre Missile Defense) ซึ่งเริ่มแต่ปี 1999 ซึ่งมีเกาหลีเหนือเป็นเป้าที่เปิดเผย แต่ทราบกันดีว่ามีจีนเป็นเป้าหมายที่ปกปิด นอกจากนั้นรัฐบาลญี่ปุ่นยังทำตัวเป็นปฏิปักษ์ต่อจีน (โดยร่วมมือกับสหรัฐฯ) ในการจูงใจให้สหภาพยุโรประงับแผนการที่จะเลิกข้อห้ามขายอาวุธให้จีน ซึ่งประกาศใช้มาตั้งแต่เกิดกรณีวิกฤตเทียนอันเหมินเมื่อปี 1989 ฯลฯ9
3. ผลประโยชน์ร่วมกัน
ทั้งจีนและญี่ปุ่นต่างให้ความสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจ การค้า และการลงทุน ว่าเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับการเติบโตทางเศรษฐกิจของทั้งสองประเทศ ในปี 2004 การค้าจีน-ญี่ปุ่นมีมูลค่ารวม 167,900 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มจากปีก่อน 25.7% จีนส่งออกไปยังญี่ปุ่นเป็นมูลค่า 73,500 ล้านเหรียญฯ (เพิ่ม 23.7%) จีนนำเข้าจากญี่ปุ่น 94,400 ล้านเหรียญฯ (เพิ่ม 27.3%) ญี่ปุ่นกลายเป็นคู่ค้าอันดับ 1 ของจีนแทนที่สหรัฐฯ ซึ่งครองอันดับหนึ่ง ในช่วง 11 ปีที่ผ่านมา การลงทุนของญี่ปุ่นในจีนปี 2004 มีมูลค่า 5,450 ล้านเหรียญฯ นับเป็นอันดับ 4 ของจีน10
ถ้าความสัมพันธ์ทางการเมืองขัดแย้งกันถึงขั้นแตกหัก ย่อมกระทบถึงเรื่องการค้าและการลงทุนดังกล่าวด้วย นี่อาจจะเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดที่จะเหนี่ยวรั้งมิให้ความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับญี่ปุ่นเสื่อมทรามลงถึงขั้นแตกหัก นอกจากนั้น ทั้งจีนและญี่ปุ่นคงจะอยากจะเห็นความร่วมมือกันในด้านการศึกษาดำเนินต่อไปตามปกติ รายงานข่าวของทางการจีนระบุว่าเมื่อสิ้นปี 2004 มีคนจีนศึกษาอยู่ในญี่ปุ่นถึง 70,000 คน11
4. การแก้ปัญหาระยะสั้น
มีข้อที่น่าสังเกตว่าทั้งภาครัฐและภาคเอกชนของจีนและญี่ปุ่นทั้งไม่อยากเห็นความสัมพันธ์จีน-ญี่ปุ่นตึงเครียดถึงขั้นแตกหัก ประเทศอื่นที่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้องก็ไม่อยากเห็นสภาพเช่นนั้นเช่นเดียวกัน
เมื่อนายโนบุตากะ มะชิมูระ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่น เดินทางไปกรุงปักกิ่งเมื่อวันที่ 17 เมษายน นั้น ท่านได้ประกาศก่อนออกเดินทางว่าจะไปขอให้จีนขอโทษ และชดใช้ค่าเสียหายที่สถานทูต สถานกงสุล และห้างร้านญี่ปุ่นในจีนถูกทุบและขว้างปา ท่านน่าจะทราบล่วงหน้าแล้วว่าจีนไม่มีอะไรที่ต้องขอโทษ (รัฐบาลจีนต้องรักษาน้ำใจของคนจีนพอๆ กับรัฐบาลญี่ปุ่นที่ต้องเอาใจคนญี่ปุ่น) อย่างไรก็ตาม ท่านก็ได้ถือโอกาสนั้นเชิญนายกรัฐมนตรีเวินเจียเป่าไปเยือนญี่ปุ่นด้วย อันนี้ก็เช่นกัน ท่านคงคาดล่วงหน้าได้ว่าจะไม่มีคำตอบ จนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลายไปในทางที่ดีขึ้น (จีนต้องรักษาหน้าตา) กระนั้นก็ตาม ญี่ปุ่นก็ได้ส่งสัญญาณให้จีนทราบว่าตนยังติดใจที่จะแก้ปัญหานี้โดยการเจรจา
ฝ่ายรัฐบาลจีนนั้น ก็ตกอยู่ในฐานะลำบาก อารมณ์ร่วมของมติมหาชนที่ต่อต้านญี่ปุ่นนั้นกำลังร้อนแรง ถ้าให้ตำรวจจับกุมฝูงชนที่ทำลายทรัพย์สินของญี่ปุ่น ประชาชนก็จะหันมาต่อต้านรัฐบาล แต่ถ้าปล่อยให้เหตุการณ์ลุกลามมากขึ้น ก็เกรงว่าจะควบคุมไว้ไม่อยู่ วิธีการปฏิบัติต่อขบวนการต่อต้านญี่ปุ่นของทางการจีน ก็คือประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนมั่นใจในความสามารถของพรรคคอมมิวนิสต์และรัฐบาลจีน ในการจัดการอย่างเหมาะสมเกี่ยวกับความสัมพันธ์จีน-ญี่ปุ่น สำนักงานความปลอดภัยสาธารณะได้ออกประกาศเมื่อวันที่ 15 เมษายน ว่า การเดินขบวนหรือชุมนุมประท้วงจะต้องได้รับอนุญาตจากสำนักงานความปลอดภัยสาธารณะ มิเช่นนั้นจะถือว่าทำผิดกฎหมายและมีโทษ12
เกี่ยวกับการสำรวจ-ขุด-เจาะแก๊สธรรมชาติในบริเวณที่ยังเป็นกรณีพิพาทกันอยู่นั้น ทั้งจีนและญี่ปุ่นได้ออกมาแถลงในวันที่ 16 เมษายน ซึ่งมีข้อความสอดคล้องกันว่า จะหาทางตกลงกันด้วยการเจรจา (negotiation) หรือการปรึกษาหารือ (consultation) หรือการสนทนากัน (dialogue)
การตอบโต้การประท้วงของชาวจีนจากฝ่ายญี่ปุ่นก็ได้เกิดขึ้นแล้วโดยประปราย เมื่อวันอาทิตย์ที่ 17 เมษายน ชาวญี่ปุ่นคนหนึ่งขว้างปาสถานกงสุลจีน ณ นครโอซากาแล้วเผาตัวเอง (ไม่ตาย) คาดว่าการประท้วงโดยฝูงชนของชาวจีนและชาวญี่ปุ่นจะคงมีต่อไป แต่โดยทั่วไปสื่อมวลชนของทั้งสองฝ่ายมิได้ออกมาปลุกระดมผู้คนให้ร่วมมือกันกระทำความรุนแรง ในทางตรงกันข้าม สื่อมวลชนของทางการจีน เกือบมิได้ออกข่าวการชุมนุมประท้วงเลย แต่สื่อมวลชนญี่ปุ่น (ซึ่งเป็นของเอกชน) พากันรายงานข่าวอย่างใกล้ชิด และตำหนิรัฐบาลจีนที่ไม่ยอมขอโทษญี่ปุ่นตามข้อเรียกร้องของรัฐบาลตน
ในโลกไซเบอร์นั้นสงครามจีน-ญี่ปุ่นก็ได้ปะทุขึ้นแล้ว ส่วนใหญ่จีนจะเป็นฝ่ายรุก มีการปลุกระดมกันโดยใช้อีเมล์ ในวันที่ 13-14 เมษายน เว็บไซต์ของตำรวจแห่งชาติญี่ปุ่น และสำนักงานป้องกันตนเองของญี่ปุ่นเกิดขัดข้อง พวกเขากล่าวหาว่าผู้ก่อการร้ายจีนส่งข้อมูลจำนวนมากไปโจมตี อย่างไรก็ตาม หากเป็นจริง ก็คงจะเป็นการกระทำของเอกชน เว็บไซต์ของทางการของทั้งสองประเทศ ยังไม่มีข้อความออกมาปลุกระดมอารมณ์ผู้คนให้ทำการใดๆ ต่อต้านอีกฝ่ายหนึ่ง ในทางตรงกันข้าม กลับมีข่าวว่าเว็บเอกชนบางแห่งในจีนที่ปลุกระดมคนต่อต้านญี่ปุ่นได้ถูกทางการปิดไปแล้ว
โอกาสที่ทั้งสองฝ่ายจะปรองดองกันนั้นมีมากกว่าการประจันหน้ากันด้วยกำลัง ด้วยความปรารถนาดีจากประเทศเจ้าภาพ ผู้นำของจีนและญี่ปุ่นอาจจะได้พบปะเจรจากันในโอกาสการประชุม ASEAN+3 หรือการประชุมสุดยอดผู้นำ APEC ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต คงไม่มีประเทศใดในเอเชียที่อยากเห็นจีนกับญี่ปุ่นปะทะกันด้วยกำลัง นายกรัฐมนตรีโคอิซูมิอาจจะไปพบประธานาธิบดีหูจิ่นเทา ในการประชุมผู้นำเอเชีย-แอฟริกาที่จะจัดขึ้นในวันที่ 22 เมษายนนี้
สิ่งที่ญี่ปุ่นเรียกร้องจากจีนเฉพาะหน้ามี 2 ประการ ข้อแรกที่จะให้จีนขอโทษนั้นคงไม่มีทางเป็นไปได้ ญี่ปุ่นเองยังไม่ยอมขอโทษจีนเกี่ยวกับอาชญากรรม ที่ส่งทหารข้ามน้ำข้ามทะเลไปฆ่าฟันชาวจีนตายมากที่สุดในโลกในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง ส่วนข้อที่สองคือ การชดใช้ทรัพย์สินที่ถูกทำเสียหาย โดยฝูงชนที่ชุมนุมต่อต้านญี่ปุ่นนั้น จีนอาจจะยอมชดใช้ให้ เพราะเป็นการละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพิเศษทางการทูต แต่ญี่ปุ่นจะต้องมีอะไรตอบแทนบ้าง คือนอกจากจะต้องชดใช้ค่าเสียหายของสถานทูตและสถานกงสุลจีนในญี่ปุ่นแล้ว (ซึ่งรายงานข่าวระบุว่าเสียหายน้อยในขณะที่เขียนบทความนี้อยู่) ยังจะต้องมีอะไรทดแทนอย่าให้จีนเสียศักดิ์ศรีในสายตาของประชาชนจีนด้วย มิฉะนั้น จีนอาจจะอ้างว่าตำรวจจีนได้ปกป้องทรัพย์สินของรัฐและเอกชนญี่ปุ่นเต็มที่แล้ว ญี่ปุ่นเป็นฝ่ายก่อเหตุยั่วยุให้เกิดปัญหา จะเรียกร้องค่าชดเชยก็ให้ไปฟ้องร้องเอาแก่ผู้กระทำผิดเอง
5. การแก้ปัญหาระยะยาว : ปัญหาและข้อคิด
ปัญหาความขัดแย้งระหว่างจีนกับญี่ปุ่นนั้นมีแนวโน้มที่จะไปในทางเลวร้ายลง และการแก้ไขทำได้ค่อนข้างยาก แม้ว่าบรรดาผู้นำลัทธิทหารนิยมในสมัยสงครามโลกครั้งที่สองของญี่ปุ่นจะล่วงลับกันไปหมดแล้ว แต่ลัทธิทหารนิยมยังไม่ตาย เพียงแต่สลบไปนาน 30-40 ปี ขบวนการสันติภาพในญี่ปุ่นซึ่งค่อนข้างจะเข้มแข็งควบคู่กันของเยอรมนีในช่วงปี 1945-1980 นั้น ซบเซาไปตามกาลเวลา โดยสหรัฐอเมริกาเคยเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมลัทธิทหารนิยมในญี่ปุ่น จนทำลายพลังสันติภาพไปได้ในที่สุด
โคอิซูมิ จุนอิชิโร นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นปัจจุบัน เป็นผู้นำทางใจของลัทธิทหารนิยมและชาตินิยมของญี่ปุ่นผสมกัน ตั้งแต่ได้รับเลือกให้เป็นนายกรัฐมนตรีในปี 2001 ท่านได้ไปทำพิธีเคารพศพของทหารญี่ปุ่นที่ศาลเจ้ายาสุกุนิทุกๆ ปี ซึ่งถูกตีความโดยประชาชนในประเทศที่เคยถูกทหารญี่ปุ่นกระทำย่ำยีว่า ท่านเทิดทูนวิญญาณลัทธิทหารนิยม การอนุมัติให้ใช้ตำราประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นระดับมัธยมศึกษา ซึ่งลดข้อความที่กล่าวโทษหรือหลีกเลี่ยงการกล่าวถึงความโหดร้ายของทหารญี่ปุ่นในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง เป็นสัญลักษณ์บ่งบอกการเฟื่องฟูของลัทธิทหารนิยมอีกระดับหนึ่ง การส่งทหารไปช่วยสหรัฐฯ ปฏิบัติการในอิรักก็ดี การยกเลิกข้อห้ามการขายอาวุธญี่ปุ่นให้ต่างประเทศก็ดี ล้วนแต่เกิดขึ้นในสมัยนี้ทั้งสิ้น
ปัญหามีว่า จีนมีเหตุผลเพียงพอที่จะกลัวภัยคุกคามจากญี่ปุ่นหรือไม่ คนจีนมีจิตวิญญาณเป็นนักประวัติศาสตร์ พวกเขาสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินด้วยน้ำมือของลัทธิทหารนิยมญี่ปุ่นมากที่สุดในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง พวกเขาย่อมมีเหตุผลที่จะหวาดกลัวภัยจากญี่ปุ่น แต่ก็ไม่ยอมแข่งขันกับญี่ปุ่นในการระดมเงินเพิ่มงบประมาณทางทหาร (งบประมาณทางทหารของญี่ปุ่นมากกว่าของจีนประมาณ 5 เท่า) ยิ่งกว่านั้น ญี่ปุ่นเป็นพันธมิตรกับอภิมหาอำนาจสหรัฐฯ ซึ่งคุกคามความมั่นคงของจีนอยู่เนืองๆ อีกด้วย
ถ้าผู้นำญี่ปุ่นมีทัศนคติเช่นเดียวกับผู้นำเยอรมนี ปัญหาความขัดแย้งระหว่างจีนกับญี่ปุ่นย่อมจะแก้ไขได้โดยง่าย ผู้นำเยอรมนีหลังสงครามโลกครั้งที่สองทุกคน ไม่เคยลังเลใจที่จะประณามพวกนาซีเยอรมัน พวกเขายินดีที่จะไปขอโทษผู้รับเคราะห์จากภัยสงคราม ที่บรรพบุรุษของพวกเขาได้ทำเอาไว้ทุกแห่งหน ด้วยเหตุนี้เยอรมนีปัจจุบันจึงได้รับความไว้เนื้อเชื่อใจจากชุมชนระหว่างประเทศ แต่ผู้นำญี่ปุ่นกลับทำตัวตรงกันข้าม ไม่ยอมขอโทษ (apology) ชาติที่ถูกญี่ปุ่นย่ำยี อย่างดีก็พูดได้แต่คำว่าเสียใจ (remorse)
หากจะมองโลกในแง่ดี ก็หวังว่าทั้งจีนและญี่ปุ่นคงจะมีความอดทนต่อความขัดแย้ง ที่มีอยู่ในปัจจุบันและที่อาจจะเกิดขึ้นมาอีกในอนาคต เพื่อปล่อยให้เวลาเป็นตัวช่วยแก้ไขปัญหา คือพวกเขาจะถูกเงื่อนไขบังคับให้เรียนรู้ถึงการอยู่ร่วมกัน ในท่ามกลางความขัดแย้งเกี่ยวกับผลประโยชน์ ทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม เมื่อเวลาผ่านไปคนรุ่นใหม่ของทั้งสองประเทศ คงจะมีทัศนะแตกต่างไปจากคนรุ่นปัจจุบัน และการปฏิสัมพันธ์กันในทางเศรษฐกิจซึ่งเพิ่มพูนขึ้นเป็นลำดับ จะช่วยลดกำแพงพรมแดนและสลายลัทธิชาตินิยมอย่างค่อยเป็นค่อยไป จนถึงขั้นลืมไปว่ารัฐบาลของพวกเขาอยู่ที่ไหน
------------------------------------------------------

คามขัดแย้งในชาติ

 คามขัดแย้งในชาติ



การเลือกตั้งใน ประเทศกรีซ ที่พรรคประชาธิปไตยใหม่ฝ่าย ที่สนับสนุนนโยบายรัดเข็มขัดได้คะแนนเสียงชนะพรรคพันธมิตรฝ่ายซ้ายที่ต่อต้านนโยบายรัดเข็มขัด  ไม่ได้แปลว่าวิกฤติ เศรษฐกิจในประเทศกรีซจะคลี่คลายลง  อย่างน้อยการตั้งรัฐบาลเที่ยวนี้ก็จะมีปัญหาอีก  เนื่องจากคะแนนเสียงได้มาไม่ถึงครึ่ง คือ 150 เสียง จาก 300 เสียง  ต้องอาศัยพรรคร่วมรัฐบาล เป็นรัฐบาลผสมอยู่ดี สุดท้ายก็ต้องไปนั่งทะเลาะกันเรื่องของการยอมรับการช่วยเหลือทาง การเงิน   การใช้นโยบายรัดเข็มขัด   และการแก้ไขปัญหาหนี้สินทั้งหมด

สันนิษฐานได้ว่า ประชาชนกรีซ เริ่มจะเห็นด้วยกับนโยบาย รัดเข็มขัด  โดยวัดจากคะแนนเสียงที่ฝ่ายรัฐบาลเดิมได้รับเลือกตั้ง เข้ามาในที่สุด  ประเทศกรีซจะดำเนินนโยบายเพื่อหลุดพ้นจากวิกฤติหนี้สินได้อย่างไรเป็นเรื่องที่ต้องจับตา วิกฤติเศรษฐกิจในยูโรโซน ไม่ได้มีแค่ประเทศกรีซเท่านั้น ทำท่าจะลุกลามไปที่สเปน อิตาลี หรือแม้แต่ประเทศฝรั่งเศส
ประธานธนาคารโลก โรเบิร์ต โซลลิก ได้แสดงความเห็นไว้ในการประชุมนอกรอบกลุ่มประเทศจี 20 ที่ประเทศเม็กซิโก เรียกร้องให้กลุ่มประเทศยูโรโซนเร่งแก้ปัญหาวิกฤติหนี้สิน พร้อมทั้งเตือนให้ระวังอันตรายจากการกำหนดนโยบายที่ไม่มีความชัดเจน

บ้านเรา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้มีการประชุมร่วมกันระหว่างคณะกรรมการนโยบายการเงินหรือ กนง.กับคณะกรรมการนโยบายสถาบันการเงินหรือ กนส. เพื่อเตรียมรับมือผลกระทบวิกฤติหนี้สินจากยูโรโซน  จะออกหัวออกก้อยอย่างไร  เป็นเรื่องที่คาดการณ์ลำบาก

ต้องยอมรับว่าปัจจัยต่างๆในประเทศ ทั้งเศรษฐกิจและการเมือง ไม่อำนวยที่จะรับมือกับปัญหาวิกฤติที่ส่อเค้าว่าจะมีความรุนแรงมากขึ้น  ก็อย่างที่ ประธานธนาคารโลกระบุเอาไว้  ความสำคัญอยู่ที่ความชัดเจนของนโยบายที่จะใช้ในการแก้ไขปัญหา ต้องมีความแน่นอนและเป็นรูปธรรม

ดูเขาดูเรา  บ้านเราไม่ได้มีปัญหาความขัดแย้งมาจากเรื่องของ เศรษฐกิจ จะถูกจะแพงก็เป็นปัญหาภายในที่พอจะแก้ไขได้ แต่เรื่องที่ ขั้วอำนาจทางการเมือง ตั้งท่าจะทะเลาะกันอย่างเดียว ชนิดไม่ เผาผี ฝ่ายหนึ่งจะเอาปรองดอง อีกฝ่ายไม่เอาปรองดอง ร่ำๆจะปะทะกันจนแตกหัก

ความขัดแย้งของคนในชาติที่ผ่านมา ทำให้ประเทศไทย  ล้าหลัง ทั้งเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ถ้ายังหาทางยุติความขัดแย้งที่ ยืดเยื้อไม่ได้ หากเกิดวิกฤติเศรษฐกิจขึ้นเมื่อไหร่ จะได้รับผลกระทบเป็นสองเท่า และประเทศไทยจะติดหล่มจมปลักไปอีกนานแสนนาน

นี่ได้ข่าวว่า มีคนกลุ่มหนึ่งที่ชอบค้าความขัดแย้งไปนั่งวางแผนสร้างสถานการณ์ทางการเมืองให้เกิดม็อบชนม็อบเกิดความวุ่นวายขึ้นในประเทศอีกรอบ เพื่อหวังผลให้กองทัพออกมาระงับเหตุเข้าสู่วงจรอุบาทว์เต็มรูปแบบ เฮ้อ.

ความขัดแย้งและความรุนแรงในวัยรุ่น

ความขัดแย้งและความรุนแรงในวัยรุ่น

                วัยรุ่น เป็นวัยที่ผู้คนมักเรียกกันว่า  “วัยหัวเลี้ยวหัวต่อ”  เพราะวัยนี้พยายามที่จะค้นหาความเข้าใจใน
ตนเองยิ่งในโลกปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว  การติดต่อสื่อสารทำได้อย่างรวดเร็วส่งผลให้
โลกทัศน์ของวัยรุ่นกว้างขึ้น  บางคนก็ค้นพบตนเองในทางที่ถูกต้องแต่บางคนกลับหันเหไปในทางที่ผิดทำให
เป็นบ่อเกิดของปัญหาที่เราเห็นในปัจจุบันถ้าจะวิเคราะห์ถึงปรากฏการณ์ของความรุนแรงที่เกิดขึ้นกับวัยรุ่น
ในขณะนี้คิดว่าคงจะมีสาเหตุมาจากหลายๆด้าน  ทั้งการเปลี่ยนแปลงด้านอารมณ์ของวัยรุ่นสภาพครอบครัว
สภาพสังคมต่างๆ ที่เป็นตัวหล่อหลอมพฤติกรรมของวัยรุ่นผ่านสื่อต่างๆ ทั้งภาพยนตร์  วีดีโอ  เกม  ที่ล้วนมี
ืผลต่อความรุนแรง  เข้าไปอยู่ในจิตใต้สำนึก โดยที่เขาเองก็ไม่ตัว
ปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับความรุนแรงในสังคม

     ปัจจัยเสี่ยงเป็นการเพิ่มโอกาสความเป็นไปได้ที่วัยรุ่นอาจจะใช้ความรุนแรง
      โดยสามารถอธิบายถึงปัจจัยเสี่ยง
   ดังนี้
ปัจจัยด้านกายภาพ   เช่น เงื่อนไขทางพันธุกรรมการได้รับความกระทบกระเทือนทางสมองหรือระบบประสาท
ปัจจัยด้านจิตใจ   เช่น ชอบเสี่ยง สมาธิสั้น ชอบความรุนแรงตื่นเต้น
ปัจจัยด้านสถานการณ์    เช่น พ่อแม่โดนจับเพราะกระทำความผิด การทะเลาะบะแว้ง  การหย่าร้าง
ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม   เช่น ครอบครัวมีฐานะยากจน จึงมีโอกาสที่จะอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่ดี
ปัจจัยด้านอิทธิพลของสื่อ   เช่น ชอบเล่นเกมส์คอมพิวเตอร์
ปัจจัยด้านประสบการณ์ของชีวิต   เช่น การถูกทำร้ายหรือทอดทิ้งตั้งแต่เด็ก
ปัจจัยด้านความสัมพันธ์ในครอบครัว   เช่น พ่อแม่เลี้ยงดูแบบเข้มงวด ควบคุมและบังคับลูกเกินไป
สิ่งสำคัญที่สุดที่จะบ่งชี้ถึงพฤติกรรมของวัยรุ่น 
      คือครอบครัว เพราะครอบครัวเป็นสถาบันที่มีอิทธิพลสำคัญที่สุดในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของวัยรุ่น
 
ครอบครัวจะเป็นหน่วยพื้นฐานที่คอยเสริมสร้างประสบการณ์ของเด็กเมื่อย่างเข้าสู่วัยรุ่น ความสัมพันธ

์กับบุคลใน
ครอบครัวจะยุ่งยากสลับซับซ้อนมากขึ้น และมักจะเกิดปัญหาขัดแย้งกันเสมอๆ เราจะสังเกตได้ง่ายๆ

ว่าวัยรุ่นเริ่มมีความ
รู้สึกอยากเป็นอิสระ   ไม่อยากให้ใครมาบังคับ และต้องการเป็นตัวของตัวเอง
      ดังนั้นส่วนสำคัญที่สุด คือพ่อ แม่ ที่ต้องเป็นแบบอย่างที่ดีให้ลูก  ควรให้คำปรึกษาเข้าใจในชีวิตของเด็กวัยนี้

ี้ไม่ขัดขวาง ห้ามในสิ่งที่เขาต้องการค้นหา แต่ควรให้คำปรึกษาที่ดีเพราะเด็กวัยนี้ ยิ่งห้ามก็เหมือนยิ่งยุโดยทั่วไป

แล้วเด็กวัยรุ่นมักจะเกิดความขัดแย้งกับพ่อแม่เสมอทำให้หันเหชีวิตไปหาเพื่อนเป็นส่วนใหญ่ กลุ่มเพื่อนจึงเป็น

สิ่งแวดล้อมที่วัยรุ่นให้ความสำคัญเหนืออื่นใดจึงเกิดการเกาะติดความเป็นพรรค เป็นพวกสืบเนื่องไปจนถึงความ

เป็นสถาบัน  และยึดถือกฎเกณฑ์ที่รุ่นพี่ในสถาบันตั้งขึ้นเราจึงเห็นกลุ่มวัยรุ่นต่างสถาบัน ยกพวกตีกันมาตั้งแต

สมัย
รุ่นปู่รุ่นพ่อ สืบมาจนถึงรุ่นปัจจุบัน 
สาเหตุที่ทำให้วัยรุ่นใช้ความรุนแรงในการตัดสินปัญหา  

ทำให้เราเห็นว่าครอบครัวน่าจะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีที่สุด ในการปลูกฝังอบรมเด็กสร้างบุคลิกภาพที่ดีให้แก่เด็ก
เมื่อเขาโตขึ้นและย่างเข้าสู่วัยรุ่น พ่อ แม่ต้องเป็นส่วนสำคัญในการ
ชี้แนวทางการดำเนินชีวิต การแก้ไขปัญหา

ต่างๆด้วยวิธีที่ถูก
ต้อง  และต้องเข้าถึงอารมณ์ความรู้สึกของวัยรุ่นไม่ดุด่า  หรือปล่อยจนเกินไป
 เพราะสาเหตุเหล่านี้จะทำให้วัยรุ่นกลายเป็นคนที่ก้าวร้าว  และตีตัวออกห่างจากครอบครัวไปมั่วสุมกับเพื่อนๆ

และเลือกเดินในแนวทางที่ผิดจนกลายเป็นปัญหาของสังคมอย่างที่ปรากฏในปัจจุบัน

ความขัดแย้งเรื่องระบบเศรษฐกิจ

   ความขัดแย้งเรื่องระบบเศรษฐกิจ

ได้แก่ ความขัดแย้งในเรื่องระบบเศรษฐกิจแบบเสรีหรือระบบ
ทุนนิยม กับระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์หรือสังคมนิยมจากหลักปรัชญาทางเศรษฐกิจที่แตกต่างกันทำให้
้เกิดความขัดแย้งกันเป็นระยะเวลากว่าครึ่งศตวรรษ  โดยกลุ่มคอมมิวนิสต์เชื่อว่า ระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนั้น
สร้างความไม่เป็นธรรมขึ้นในสังคม เพราะเหตุว่าโอกาสทางเศรษฐกิจถูกกำหนดด้วยเงินทุน ตามที่นักเศรษฐ
ศาสตร์เรียกว่า ระบบทุนนิยม   โดยผู้ที่มีทุนมากโอกาสทางเศรษฐกิจก็จะมากไปด้วย  ดังที่กล่าวกันว่า คนรวย
ก็จะรวยยิ่ง ๆ ขึ้นไป ส่วนคนจนก็จะจนลง  อันทำให้เกิดช่องว่างในสังคม และสังคมใดก็ตามที่มีช่องว่างทาง
สังคมมากสังคมนั้นก็ไม่สามารถดำรงอยู่ได้แต่เท่าที่ผ่านมาก็เป็นการพิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า ในระบบเศรษฐกิจ
แบบเสรีนั้น เปิดกว้างให้เกิดการแข่งขันโดยเอกชนอย่างเสรี ช่วยพัฒนาเศรษฐกิจและประเทศชาติให้เจริญ
ก้าวหน้าได้ชัดเจนดังตัวอย่างประเทศต่าง ๆในทวีปยุโรปและสหรัฐอเมริกา
    

        ความขัดแย้งในเรื่องกฎระเบียบทางการค้า  เช่น การตั้งกำแพงภาษีนำเข้าสินค้า ห้ามขายสินค้า
บางประเภท ห้ามต่างชาติประกอบการในบางธุรกิจ ตลอดจนการปฏิบัติต่อคู่ค้าในลักษณะที่ไม่เสมอภาคกัน
มีการให้อภิสิทธิ์ด้านการเสียภาษีนำเข้าที่เรียกว่า  G.S.P  การอุดหนุนสินค้าเกษตร  การคุ้มครองลิขสิทธิ์ สิทธิบัตรและทรัพย์สินทางปัญญา เป็นต้น

        ความขัดแย้งในการแสวงหาวัตถุดิบและแหล่งลงทุนราคาถูก  ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีนโยบาย
การแสวงหาแหล่งวัตถุดิบและแหล่งลงทุนราคาถูกนอกประเทศที่เด่นชัดมากที่สุด  ทั้งนี้เพราะประเทศญี่ปุ่น
นั้นขาดแคลนวัตถุดิบต้องอาศัยวัตถุดิบจากภายนอกประเทศเป็นสำคัญ   และฐานของแหล่งวัตถุดิบที่จะนำเข้า
ในระบบอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น คือ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้   นอกจากนี้ 
การที่ค่าแรงงานของญี่ปุ่นแพงต้องจ่ายภาษีอากรสูงจึงทำให้บริษัทใหญ่ๆ  ของญี่ปุ่น  เช่น บริษัทผลิตรถยนต์ บริษัทผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าจึงได้พยายาม
เข้าไปลงทุน เข้าไปตั้งบริษัท  เข้าไปตั้งฐานการผลิตในประเทศต่าง ๆ ใน
ภูมิภาคเอเชีย  โดยเฉพาะเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เกือบทุกประเทศจาก
นโยบายดังกล่าวทำให้เกิดความขัดแย้งกับประเทศอุตสาหกรรมอื่น ๆ ที่
ผลิตสินค้าในลักษณะเดียวกันโดยเฉพาะ ความขัดแย้งกับสหรัฐอเมริกาและ
กลุ่มประเทศตะวันตก ซึ่งมีส่วนแบ่งการตลาดในภูมิภาคเอเชียมากขึ้น  แต่
เนื่องจากญี่ปุ่นมีกลยุทธที่ดีกว่า   และอยู่ใกล้กว่าจึงสามารถเข้าไปตั้งฐาน
การผลิตและการลงทุนได้มากกว่า สหรัฐอเมริกาและกลุ่มประเทศตะวันตก  
และญี่ปุ่นก็สามารถแย่งส่วนแบ่งการตลาดส่วนใหญ่ในเอเชียมาได้หลังจาก
นั้นญี่ปุ่นได้หันมาขัดแย้งกับประเทศที่ญี่ปุ่นเข้าไปผูกขาดการตลาดและผูก
ขาดการลงทุนแทน  ดังเช่น การต่อต้านสินค้าญี่ปุ่นในประเทศไทยก่อนเหตุการณ์ 14  ตุลาคม  2516,  การต่อ
ต้านสินค้าญี่ปุ่นในเกาหลีเป็นต้นจากปัญหาทางเศรษฐกิจดังกล่าวมาแล้วข้างต้นทำให้เกิดภาวะที่เรียกว่าสงคราม
ทางเศรษฐกิจเกิดขึ้น ประเทศที่มีศักยภาพในทางเศรษฐกิจการค้า   ก็ระดมกลยุทธการแข่งขันทุกรูปแบบเข้าต่อ
สู้กัน ทั้งในทางที่อยู่ในกฎเกณฑ์กติกา    และทั้งนอกกฎเกณฑ์กติกา ส่งผลให้เกิดการเผชิญหน้า เกิดภาวะความ
ตึงเครียดทางเศรษฐกิจขึ้นทั่วโลก

แนวทางแก้ปัญหาความขัดแย้งทางเศรษฐกิจ
          1.การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ  เป็นการแก้ปัญหาความขัดแย้งได้ในระดับหนึ่ง  เช่น  ASEAN  OPEC หรือ EU  เป็นต้น


          2.การใช้มาตรการแก้ปัญหาขององค์การสหประชาชาติ สหประชาชาติจะเข้ามาแก้ไข
ปัญหาเมื่อเกิดความขัดแย้งจนกลายเป็นกรณีพิพาทระหว่างประเทศ เช่น ใน
ค.ศ. 1976 ได้ร่วมกับองค์การนาโต้แก้ปัญหากรณีพิพาทระหว่างอังกฤษกับ
ไอซ์แลนด์ในการแย่งชิงเขตการประมงที่เรียกว่า“สงครามปลาค็อด”กรณีอิรัก
ยึดครองคูเวตใน ค.ศ. 1990 เพื่อครอบครองแหล่งทรัพยากรน้ำมันเช่นเดียว
กัน


          3.การเจรจาทางการค้า
      ได้มีการประชุมนานาชาติโดยองค์การการค้าโลก  (WTO)  สร้างข้อ
ตกลงร่วมกันของประเทศสมาชิก  134  ประเทศ  โดยเน้นหนักเรื่องการค้าเสรีการจัดระบบภาษีอากรให้เป็น
ธรรม  และตลาดเสรี  ทำให้ความขัดแย้งทางเศรษฐกิจลดน้อยลง

ความขัดแย้งระหว่างผู้นำประเทศ

ความขัดแย้งระหว่างผู้นำประเทศ

ภายหลังที่อิหร่านโค่นล้มสถาบันกษัตริย์และ
เปลี่ยนการปกครองเป็นสาธารณรัฐอิสลาม ที่มีอยาโตลลาห์ โคไมนี เป็นผู้นำประเทศอิหร่าน และ
นำหลักศาสนาอิสลามมาใช้ในการปกครองประเทศ หลายประเทศในตะวันออกกลางเกรงว่า
อิหร่านจะเผยแพร่แนวคิดรัฐอิสลามไปยังประเทศของตนและอาจส่งผลต่อความมั่นคงทางการ
เมือง ทำให้อิรักที่มีพรมแดนติดกับอิหร่านและมีความขัดแย้งกันมานานแล้วยิ่งทวีความรุนแรง
มากขึ้น โดยโคไมนีพยายามเรียกร้องให้ชาวมุสลิมนิกายชีอะห์ที่มีจำนวนร้อยละ 65 ของชาวอิรัก
ทำการโค่นล้มรัฐบาลประธานารธิบดีซัดดัม อุสเซน ซึ่งเป็นชาวมุสลิมนิกายสุหนี่ ที่พยายามจะ
ขยายอำนาจเข้ามาในอิหร่าน จากความขัดแย้งของทั้งสองประเทศส่งผลให้เกิดการปะทะกันตาม
พรมแดนและทวีความรุนแรงมากขึ้น กลายเป็นสงครามยืดเยื้อ เนื่องจากอิรักได้รับการสนับสนุน
อาวุธจากสหรัฐอเมริกา ส่วนอิหร่านได้รับความช่วยเหลือจากรัสเซีย จนกระทั่งองค์การ
สหประชาชาติและประเทศที่เป็นกลางพยายามเจรจาและยุติสงครามใน ค.ศ. 1988

วันศุกร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ความขัดแย้งและความร่วมมือในช่องทางการตลาด



ความขัดแย้งและความร่วมมือในช่องทางการตลาด (conflict and  cooperation in marketing channels)

          กิจการโดยส่วนใหญ่มักจะมีการเลือกใช้คนกลางในการกระจายสินค้าไปสู่ผู้บริโภคคนสุดท้าย ดังนั้นกิจการจึงจำเป็นต้องคิดค้นหาวิธีการที่จะทำให้สมาชิกภายในช่องทางที่เลือกใช้อยู่มีการดำเนินงานที่มีความสอดคล้อง เกิดความสมดุลย์ ไม่มีความขัดแย้งเกิดขึ้นหรือพยายามให้เกิดขึ้นน้อยที่สุด นอกจากนี้กิจการจะต้องกำหนดแนวทางในการสร้างความร่วมมือให้เกิดขึ้นระหว่างสมาชิกภายในช่องทางที่เลือกใช้อยู่ เพราะถ้าสมาชิกในช่องทางมีการร่วมมือกันปฏิบัติงานแล้ว ก็จะทำให้การปฏิบัติงานนั้นบรรลุผลตามเป้าหมายที่ได้กำหนดไว้

ลักษณะของความขัดแย้งในช่องทาง (nature of channel conflicts)

          ความขัดแย้งในช่องทาง (channel conflict) หมายถึง การรับรู้ของสมาชิกในช่องทางเกี่ยวกับการบรรลุเป้าหมาย ในการดำเนินงานที่ถูกขัดขวางจากสมาชิกในช่องทางรายอื่น (Berman, 1996 : 568) 

ลักษณะของความขัดแย้งในช่องทาง เกิดขึ้นได้ 3 ลักษณะ คือ
          1. ความขัดแย้งในแนวนอน (horizontal conflict) หมายถึง ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นระหว่างสมาชิกในช่องทางประเภทเดียวกัน และอยู่ในช่องทางระดับเดียวกัน เช่น การแข่งขันกันลดราคาสินค้าของร้านขายของชำ การขายสินค้าข้ามเขตการขายซึ่งกันและกันของตัวแทน เป็นต้น 
          2. ความขัดแย้งระหว่างประเภท (intertype conflict) หมายถึง ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นระหว่างสมาชิกในช่องทางคนละประเภท แต่อยู่ในช่องทางระดับเดียวกัน เช่น ความขัดแย้งระหว่างร้านขายของชำกับร้านค้าสะดวกซื้อ ความขัดแย้งระหว่างห้างสรรพสินค้ากับร้านขายสินค้าเฉพาะอย่าง เป็นต้น 
          3. ความขัดแย้งในแนวตั้ง (vertical conflict) หมายถึง ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นระหว่างสมาชิกในช่องทางคนละระดับในช่องทางการตลาดเดียวกัน เช่น ความขัดแย้งระหว่างผู้ผลิตกับพ่อค้าส่ง ความขัดแย้งระหว่างพ่อค้าส่งกับพ่อค้าปลีก เป็นต้น 

สาเหตุของความขัดแย้ง (causes of conflict)
          ความขัดแย้งในช่องทางมักจะเกิดขึ้นเมื่อกิจการต้องการเพิ่มช่องทางใหม่ ลดช่องทางที่ใช้อยู่เดิมเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขการให้ส่วนลด หรือการให้สมาชิกในช่องทางเพิ่มการให้บริการการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขข้อตกลง ฯลฯ 

          Philip Kotler (1997 : 555 – 556) ได้แบ่งสาเหตุของการเกิดความขัดแย้งระหว่างสมาชิกในช่องทาง ออกเป็น 4 สาเหตุ ดังนี้

          1. เป้าหมายในการดำเนินธุรกิจเข้ากันไม่ได้ (goal incompatibility) 
          เป็นความขัดแย้งที่เกิดขึ้นเนื่องจากการดำเนินธุรกิจของสมาชิกภายในช่องทางเดียวกัน มีเป้าหมายที่ไม่ตรงกันหรือมีเป้าหมายไม่ไปในทิศทางเดียวกัน เช่น ผู้ผลิตที่ต้องการให้ตลาดเป้าหมายมีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว มักจะขายสินค้าโดยการใช้นโยบายราคาต่ำเป็นกลยุทธ์ในการขยายตลาดเป้าหมายซึ่งตรงกันข้ามกับคนกลางที่ต้องการดำเนินธุรกิจเพื่อให้ได้รับกำไรสูงสุด จึงมักจะขายสินค้าโดยการใช้นโยบายราคาสูงเป็นกลยุทธ์ในการขายสินค้า เป็นต้น ดังนั้นการที่ผู้ผลิตและคนกลางมีเป้าหมายที่ไม่ตรงกันอาจทำให้เกิดความขัดแย้งภายในช่องทางขึ้นมาได้

          2. บทบาทและสิทธิไม่ชัดเจน (unclear roles and rights) 
          เป็นความขัดแย้งที่เกิดขึ้นเนื่องจากการกำหนดบทบาทและสิทธิของสมาชิกภายในช่องทางเดียวกัน มีความคลุมเครือหรือไม่ชัดเจน เช่น ผู้ผลิตให้สิทธิในการจัดจำหน่ายแก่คนกลางรายใดรายหนึ่งไปแล้วแต่ผู้ผลิตก็ยังมีการขายสินค้าโดยตรงให้กับลูกค้าที่อยู่ในเขตการขายของคนกลางที่ได้รับสิทธิอีกด้วย เป็นต้น ดังนั้นการกำหนดบทบาทและสิทธิของสมาชิกในช่องทางที่ไม่ชัดเจนอาจทำให้เกิดความขัดแย้งขึ้นมาได้

          3. ความแตกต่างในการรับรู้ (differences in perception)
           เป็นความขัดแย้งที่เกิดขึ้นเนื่องจากสมาชิกภายในช่องทางเกิดการรับรู้ในด้านการดำเนินงานที่แตกต่างกัน เช่น ผู้ผลิตมักจะต้องการให้คนกลางมีการเก็บรักษาสินค้าเป็นปริมาณมากไว้ในคลังสินค้า ทั้งนี้เพื่อป้องกันสินค้าขาดตลาด แต่ตรงกันข้ามกับคนกลางที่มักจะต้องการเก็บรักษา สินค้าเป็นปริมาณน้อย ๆ ไว้ในคลังสินค้า ทั้งนี้เพื่อให้เสียต้นทุนในการเก็บรักษาต่ำที่สุด เป็นต้น ดังนั้นผลของการรับรู้ที่แตกต่างกัน อาจเป็นสาเหตุให้เกิดความขัดแย้งขึ้นได้ 

          4. การขึ้นแก่กันเป็นอย่างมาก (great dependence)
          เป็นความขัดแย้งที่เกิดขึ้นเนื่องจากสมาชิกภายในช่องทางมีการขึ้นแก่กันเป็นอย่างมาก เช่น ผู้ผลิตรถยนต์มักจะใช้ตัวแทนจำหน่ายแบบผูกขาด (exclusive dealers) ทำให้ผู้ผลิตเกิดปัญหาในการตัดสินใจทางด้านราคาและสินค้าได้ หรือตัวแทนจำหน่ายก็จะเกิดปัญหาในการเปลี่ยนแปลงสินค้าที่นำมาขาย เพราะต้องปฏิบัติตามข้อตกลงที่ได้กำหนดไว้ เป็นต้น ผลของการที่สมาชิกในช่องทางมีการขึ้นแก่กันเป็นอย่างมาก อาจทำให้เกิดความขัดแย้งขึ้นมาได้


ค้นเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2553. จากเว็บไซต์ http://coursewares.mju.ac.th/BA330/TPChap10-170.htm
นุชนาฏ บันทึกการเข้า

การจัดการความขัดแย้ง
« 1 เมื่อ: มิ.ย. 03, 2010, 10:40:47 am »
    การจัดการความขัดแย้ง (conflict management)

              สมาชิกภายในช่องทางเดียวกันจะต้องพยายามจัดการให้ความสัมพันธ์ระหว่างกันเกิดความสมดุลย์ ทั้งในด้านความขัดแย้งและความร่วมมือ เพื่อที่จะทำให้เกิดความพึงพอใจแก่สมาชิกในช่องทางแต่ละราย เพราะถ้าหากความขัดแย้งที่เกิดขึ้นอยู่ในระดับสูงแล้ว การแก้ไขความขัดแย้งก็จะต้องอาศัยทักษะทางด้านการเจรจา ทักษะทางด้านมนุษย์สัมพันธ์ และทักษะทางด้านการติดต่อสื่อสารที่สูงขึ้นตามไปด้วย

              Philip Kotler (1997 : 556 – 557) ได้เสนอแนวทางในการจัดการกับความขัดแย้งที่เกิดขึ้น ระหว่างสมาชิกภายในช่องทาง ออกเป็น 6 แนวทาง ดังนี้

              1. การกำหนดเป้าหมายร่วมกัน (supercoordinate goals)
              แนวทางการแก้ไขความขัดแย้งตามวิธีนี้ สามารถทำได้โดยสมาชิกภายในช่องทางการตลาดเดียวกัน มีการกำหนดเป้าหมายการดำเนินงานในด้านต่าง ๆ ขึ้นมาร่วมกัน เช่น การกำหนดส่วนแบ่งการตลาด การกำหนดคุณภาพของสินค้าและการให้การบริการ การกำหนดวิธีการตอบสนองความพึงพอใจของกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย เป็นต้น วิธีการแก้ไขแบบนี้จะก่อให้เกิดการทำงานที่มีความสนิทสนมกันมากขึ้น เกิดความร่วมมือกันมากขึ้น เกิดการช่วยเหลือซึ่งกันและกันระหว่างสมาชิกในช่องทาง ซึ่งจะทำให้การดำเนินงานภายในช่องทางมีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมทั้งเป็นการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในช่องทางด้วยกันในระยะยาวต่อไป

              2. การแลกเปลี่ยนบุคลากร (exchange of persons)
              แนวทางการแก้ไขความขัดแย้งตามวิธีนี้ สามารถทำได้โดยสมาชิกในช่องทางแต่ละระดับ มีการแลกเปลี่ยนบุคลากรระหว่างกัน โดยสมาชิกในช่องทางรายหนึ่งรายใด มีการจัดส่งบุคลากรของตนเองเข้าไปทำงานร่วมกับบุคลากรภายในหน่วยงานของสมาชิกอื่นในช่องทางเดียวกัน เป็นระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งผลของการได้ทำงานร่วมกันระหว่างบุคลากรจะทำให้เกิดความรู้ ความเข้าใจในการดำเนินงานของแต่ละฝ่ายได้เป็นอย่างดี หากมีปัญหาหรือข้อขัดแย้งเกิดขึ้นก็สามารถที่จะแก้ไขได้อย่างรวดเร็ว

              3. การเข้าเป็นสมาชิกในสมาคมการค้าต่างๆ (joint membership in trade associations)
              แนวทางการแก้ไขความขัดแย้งตามวิธีนี้ เป็นวิธีการที่สมาชิกในช่องทางแต่ละรายเข้าไปมีส่วนร่วมในฐานะสมาชิกของสมาคมการค้าต่าง ๆ ที่ได้จัดตั้งขึ้นมา ผลของการเข้าไปเป็นสมาชิกในสมาคม จะทำให้สมาชิกในช่องทางแต่ละรายมีโอกาสพบปะ พูดคุย แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันมากขึ้น ทำให้เป็นประโยชน์ในการร่วมมือกันบริหารงาน การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน รวมทั้งการช่วยแก้ไขหรือขจัดความขัดแย้งที่เกิดขึ้นระหว่างสมาชิกในช่องทางได้ด้วย

              4. การใช้วิธีการทางการฑูต (diplomacy)
              แนวทางการแก้ไขความขัดแย้งตามวิธีนี้ ทำได้โดยสมาชิกในช่องทางที่เกิดความขัดแย้งกัน จัดส่งบุคคล หรือกลุ่มบุคคลที่เป็นตัวแทนของตนเองไปเจรจาเพื่อหาข้อยุติความขัดแย้งที่เกิดขึ้นกับบุคคล หรือกลุ่มบุคคลที่เป็นตัวแทนของคู่กรณี ตามวัน เวลา และสถานที่ที่ได้ตกลงกันไว้ ลักษณะของวิธีการแบบนี้จะเป็นการเจรจาแบบการเผชิญหน้า ซึ่งแต่ละฝ่ายสามารถแลกเปลี่ยนหรือรับฟังเหตุผลข้อโต้แย้งของแต่ละฝ่ายได้ทันที ทำให้สามารถหาข้อยุติของความขัดแย้งที่เกิดขึ้นที่เป็นที่พอใจของทั้งสองฝ่ายได้ในเวลาที่รวดเร็วขึ้น

              5. การใช้ผู้ไกล่เกลี่ย (intermediaries) 
              แนวทางการแก้ไขความขัดแย้งวิธีนี้ จะเป็นการใช้คนกลางหรือบุคคลที่สามเข้ามาช่วยแก้ไขความขัดแย้งที่เกิดขึ้น ซึ่งแบ่งออกได้ 2 วิธี 
                   5.1 การใช้คนกลาง (mediation) วิธีการจัดการความขัดแย้งวิธีนี้ ทำได้โดยสมาชิกในช่องทางที่เกิดความขัดแย้งกันมีการตกลงที่จะให้มีคนกลางที่ทั้งสองฝ่ายยอมรับได้ โดยคนกลางอาจจะเป็นบุคคล กลุ่มบุคคล หรือองค์กรภายนอกก็ได้ มาทำหน้าที่เป็นคนกลางในการไกล่เกลี่ยเพื่อหาข้อยุติของความขัดแย้งที่เกิดขึ้น 
                   5.2 การใช้อำนาจทางกฎหมาย (arbitration) วิธีการจัดการความขัดแย้งวิธีนี้ ทำได้เมื่อสมาชิกในช่องทางที่เกิดความขัดแย้งกัน ต่างฝ่ายต่างใช้วิธีการแก้ไขความขัดแย้งโดยอาศัยอำนาจทางกฎหมายที่ได้กำหนดเอาไว้ เช่น การฟ้องร้องต่อศาล เป็นต้น


    ค้นเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2553 จากเว็บไวซ์  http://coursewares.mju.ac.th/BA330/TPChap10-171.htm
    นุชนาฏ บันทึกการเข้า

    ความร่วมมือในช่องทาง
    « 2 เมื่อ: มิ.ย. 03, 2010, 10:52:41 am »
      ความร่วมมือในช่องทาง (channel cooperation)

                ความร่วมมือในช่องทาง หมายถึง ความพยายามร่วมมือกันของสมาชิกภายในช่องทาง เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของแต่ละฝ่ายที่ได้กำหนดไว้ (Berman, 1996 : 573)

                เนื่องจากสมาชิกในช่องทางแต่ละรายต่างก็มีเป้าหมายของตนเอง ดังนั้นการมีความร่วมมือระหว่างกัน นอกจากจะทำให้สมาชิกในช่องทางแต่ละรายบรรลุเป้าหมายตามที่ได้วางไว้แล้ว ยังก่อให้เกิดประโยชน์ในด้านอื่น ๆ ตามมาอีกด้วย เช่น การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน การช่วยลดความขัดแย้ง การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างกันในระยะยาว เป็นต้น 

      ลักษณะของความร่วมมือในช่องทาง แบ่งออกได้เป็น 6 ลักษณะ ดังนี้

                1. การทำโปรแกรมการส่งเสริมการตลาดร่วมกัน (joint promotional programs) การทำโปรแกรมการส่งเสริมการตลาดร่วมกัน สามารถทำได้หลาย ๆ วิธี เช่น 
                     1.1 พ่อค้าส่งกับพ่อค้าปลีกร่วมมือกันจัดทำโปรแกรมการโฆษณาร่วมกัน
                     1.2 ผู้ผลิตช่วยเหลือทางด้านการจัดแสดงสินค้าให้กับพ่อค้าส่งและพ่อค้าปลีก
                     1.3 ผู้ผลิตเข้าไปมีส่วนร่วมในการรับคำสั่งซื้อร่วมกับพ่อค้าส่ง
                     1.4 ผู้ผลิตจัดทำโปรแกรมการโฆษณา โดยในโฆษณานั้นยอมให้มีชื่อของผู้จัดจำหน่ายรวมอยู่ด้วย
                     1.5 ผู้ผลิตคอยติดตามให้ความช่วยเหลือในการเสาะแสวงหาลูกค้าเป้าหมายใหม่ ๆ ให้กับพ่อค้าส่งและพ่อค้าปลีก 
                     1.6 ผู้ผลิตเสนอให้สิ่งจูงใจในด้านต่าง ๆ แก่พ่อค้าส่งและพ่อค้าปลีกโดยไม่ต้องมีการลดราคาสินค้าที่ซื้อขายระหว่างกัน ฯลฯ 

                2. การช่วยเหลือด้านการจัดการสินค้าคงเหลือร่วมกัน (joint inventory management assistance) การช่วยเหลือด้านการจัดการสินค้าคงเหลือร่วมกัน สามารถทำได้หลาย ๆ วิธี เช่น
                     2.1 ผู้ผลิต พ่อค้าส่ง และพ่อค้าปลีก ร่วมมือกันในการทำโปรแกรมแลกเปลี่ยน ข้อมูลข่าวสารผ่านสื่ออิเลคทรอนิคส์ (electronic data interchange programs) 
                     2.2 ผู้ผลิต พ่อค้าส่ง และพ่อค้าปลีก ร่วมมือกันในการทำโปรแกรมการจัดการ สินค้าคงเหลือแบบทันเวลาพอดี (just-in-time inventory management programs) 
                     2.3 ผู้ผลิต หรือพ่อค้าส่ง ให้ความช่วยเหลือด้านการขนส่งสินค้าให้กับพ่อค้าปลีกในกรณีที่เป็นการซื้อแบบเร่งด่วน
                     2.4 ผู้ผลิต ให้ความช่วยเหลือทางด้านการเงินสำหรับการเก็บรักษาสินค้าคงเหลือให้กับพ่อค้าส่งและพ่อค้าปลีก ฯลฯ 
                วิธีการต่าง ๆ เหล่านี้ถึงแม้ว่าจะทำให้การเก็บรักษาสินค้าคงเหลือของสมาชิกในช่องทางมีระดับต่ำ แต่ก็ยังสามารถช่วยลดปัญหาการขาดแคลนสินค้า และผู้บริโภคสามารถซื้อสินค้าได้ตามวันและเวลาที่ต้องการได้ทันที

                3. การขายสินค้าแบบผูกขาด (exclusive product) 
                การขายสินค้าแบบผูกขาด สามารถทำได้โดยผู้ผลิตจะมอบหมายให้สมาชิกในช่องทางแต่ละราย ขายสินค้าของผู้ผลิตคนละชนิดกัน ซึ่งการใช้วิธีการนี้จะช่วยให้การแข่งขันทางด้านราคา ระหว่างสมาชิกในช่องทางลดน้อยลง เพราะขายสินค้าคนละชนิดกัน นอกจากนี้ยังช่วยให้ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อสินค้าได้รวดเร็วขึ้น เพราะไม่ต้องเปรียบเทียบราคาสินค้าระหว่างสมาชิกแต่ละราย เนื่องจากสมาชิกแต่ละรายขายสินค้าของผู้ผลิตคนละชนิดกันนั่นเอง

                4. การแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างกัน (information sharing) การแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างกัน สามารถทำได้หลายวิธี เช่น
                     4.1 ผู้ผลิต พ่อค้าส่ง และพ่อค้าปลีก ร่วมมือกันในการทำโปรแกรมแลกเปลี่ยน ข้อมูลข่าวสารผ่านสื่ออิเลคทรอนิคส์ (electronic data interchange programs) 
                     4.2  ผู้ผลิตสนับสนุนให้ผู้จัดจำหน่ายเข้าไปมีส่วนร่วมในองค์กรหรือสมาคมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อจะได้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างสมาชิกภายในองค์กรหรือสมาคมนั้น ๆ อันจะเป็นประโยชน์สำหรับการดำเนินธุรกิจของสมาชิกในช่องทางต่อไป ฯลฯ

                5. การให้การฝึกอบรม (training) การให้การฝึกอบรม สามารถทำได้หลายวิธี เช่น 
                     5.1 พ่อค้าส่ง และพ่อค้าปลีก เข้าไปมีส่วนร่วมในโปรแกรมการฝึกอบรมด้านการขายของผู้ผลิต
                     5.2 พ่อค้าส่ง และพ่อค้าปลีก เข้าไปมีส่วนร่วมในโปรแกรมการฝึกอบรมด้านผลิตภัณฑ์ของผู้ผลิต ฯลฯ

                6. การป้องกันเขตการขาย (territory protection) 
                การป้องกันเขตการขายสามารถทำได้โดยผู้ผลิตเสนอวิธีการต่าง ๆ ในการช่วยป้องกันเขตการขายสินค้าของพ่อค้าส่ง และพ่อค้าปลีกเมื่อมีคู่แข่งขันเข้ามาในเขตการขายนั้น ๆ เช่น ร่วมมือกับพ่อค้าส่ง หรือพ่อค้าปลีกในการทำการส่งเสริมการตลาด ที่ดึงดูดใจกลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่ดีกว่าของคู่แข่งขัน เป็นต้น

      สรุป
                ความขัดแย้งในช่องทาง เกิดขึ้นได้ 3 ลักษณะ คือ ความขัดแย้งในแนวนอน ความขัดแย้งระหว่างประเภท และความขัดแย้งในแนวตั้ง โดยความขัดแย้งในแนวนอน เกิดขึ้นระหว่างสมาชิกในช่องทางประเภทเดียวกัน และอยู่ในช่องทางระดับเดียวกัน ความขัดแย้งระหว่างประเภท เกิดขึ้นระหว่างสมาชิกในช่องทางคนละประเภท แต่อยู่ในช่องทางระดับเดียวกัน 

                สาเหตุของความขัดแย้งที่เกิดขึ้นระหว่างสมาชิกในช่องทาง เกิดจากเป้าหมายในการดำเนินธุรกิจเข้ากันไม่ได้ บทบาทและสิทธิไม่ชัดเจน ความแตกต่างในการรับรู้ และการขึ้นแก่กันอย่างมาก โดยแนวทางในการแก้ไขความขัดแย้ง สามารถทำได้ 6 วิธี คือ การกำหนดเป้าหมายร่วมกัน การแลกเปลี่ยนบุคลากร การเข้าเป็นสมาชิกในสมาคมการค้าต่าง ๆ การใช้วิธีการทาง การฑูต และการใช้ผู้ไกล่เกลี่ย (การใช้คนกลางและการใช้อำนาจทางกฎหมาย)

                ความร่วมมือในช่องทางเป็นการร่วมมือกันของสมาชิกภายในช่องทาง เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของแต่ละฝ่ายที่ได้กำหนดไว้ โดยลักษณะความร่วมมือแบ่งออกได้ 6 ลักษณะคือ การทำโปรแกรมการส่งเสริมการตลาดร่วมกัน การช่วยเหลือด้านการจัดการสินค้าคงเหลือร่วมกัน การขายสินค้าแบบผูกขาด การแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างกัน การให้การฝึกอบรม และการป้องกันเขตการขาย


      ค้นเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2553. จากเว็บไซต์ http://coursewares.mju.ac.th/BA330/TPChap10-173.htm

      ความขัดแย้งในประเทศไทย


                  ความขัดแย้งในประเทศไทย : สาเหตุ ผลกระทบ และ ทางแก้

      ความขัดแย้งในสังคมไทยในอดีตมีมาเรื่อย ไม่ว่าจะเป็นความขัดแย้งระหว่างชนชั้นนำที่ยุติลงด้วยการเปลี่ยนแปลงการปกครองในวันที่ 24 มิ.ย.2475 หลังจากนั้นก็เกิดความขัดแย้งเชิงอุดมการณ์ระหว่างรัฐไทยกับพรรคคอมมิวนิสต์ แห่งประเทศไทยตั้งแต่ปี 2492-2525  ซึ่งสิ้นสุดลงด้วยนโยบายการให้อภัย ตามคำสั่งที่ 66/2523 ต่อมาก็เป็นความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลเผด็จการกับกระแสเรียกร้องประชาธิปไตยของประชาชน อันก่อให้เกิดเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 และพฤษภาทมิฬ 2535



      แต่ความขัดแย้งที่ผ่านมายังไม่มีความรุนแรงเท่าความขัดแย้งทางการเมืองยืดเยื้อ เรื้อรังในขณะนี้ ที่เริ่มต้นเมื่อปลายปี 2548 และพัฒนามาเป็นความขัดแย้งระหว่าง “เสื้อเหลือง” กับ “เสื้อแดง” อยู่จนถึงทุกวันนี้ ความขัดแย้งยาวนานนี้ยังไม่มีใครรู้ว่าจะจบลงอย่างไร แต่ที่แน่ใจได้ก็คือ ผลกระทบของมันมีความรุนแรงมากหลายด้าน ดังนี้



      1.ความขัดแย้งดังกล่าวถูกกระพือให้เป็นความขัดแย้งร้าวลึกระหว่างประชาชน ลุกลามไปทุกที่ ไม่ว่าในครอบครัว ในบรรดาเพื่อนฝูงที่ทำงาน จนแม้ระหว่างคนในภูมิภาคต่างๆ โดยเฉพาะคนภาคเหนือและภาคอีสานฝ่ายหนึ่ง กับคนภาคใต้ ถึงขั้นที่มีการตั้งคำถามถึงเอกภาพและบูรณภาพของความเป็นชาติไทยเลยทีเดียว หากไม่สามารถระงับความรู้สึกแตกแยกรุนแรงนี้ ให้ยุติลงได้ในอนาคตอันใกล้ ก็ไม่แน่ว่าอุดมการณ์ความเป็นชาติไทยหนึ่งเดียวจะสั่นคลอนเพียงใด

      2. ไม่มีความขัดแย้งครั้งใดที่เกือบทุกสถาบันหลักของประเทศถูกตั้งคำถามถึงความ ชอบธรรม และบทบาทมากที่สุด อย่างในเวลานี้ รัฐบาลพลังประชาชนประชาชนของอดีตนายกรัฐมนตรีสมัคร สุนทรเวช และนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ก็ถูกคนเสื้อเหลืองประท้วงยืดเยื้อ รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะก็ถูกคนเสื้อแดงประท้วงไม่เลิก รัฐสภาก็ถูกตั้งฉายาที่แสดงให้เห็นการไม่ยอมรับ องค์กรอิสระก็ถูกท้าทายและไม่ยอมรับ ศาลซึ่งไม่เคยถูกวิพากษ์วิจารณ์ก็ถูกวิพากษ์อย่างเปิดเผย สถาบันองคมนตรีซึ่งควรอยู่เหนือความขัดแย้งทางการเมือง ก็เป็นเป้าการโจมตีของคนบางกลุ่ม! วิกฤติความเป็นธรรมนี้บั่นทอนความเชื่อมั่น (Trust) ในสถาบันทั้งหลาย และอาจนำมาซึ่งความล่มสลายของประชาธิปไตยได้หากปล่อยให้ยืดเยื้อ



      3.หลักนิติธรรมและความศักดิ์สิทธิ์ของกฎหมายในบ้านเมืองถูกสั่นคลอนอย่างรุนแรงโดยรัฐเองและประชาชน การทุจริตที่ปรากฏเป็นข่าวมากมายในฝ่ายการเมืองและข้าราชการแสดงให้เห็นความไม่แยแสต่อกฎหมายของผู้มีอำนาจ ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และการที่ฝูงชนทั้งเสื้อเหลือง เสื้อแดงสามารถกระทำการท้าทายความศักดิ์สิทธิ์ของกฎหมายได้โดยมิได้มีอะไร เกิดขึ้น ทำให้มีการตั้งคำถามกันว่า รัฐไทยเป็นรัฐที่ล้มเหลว (Failed State) ที่ไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ความรุนแรงในประเทศได้หรือไม่? ยิ่งถ้าดูเทียบกับดัชนีวัดหลักนิติธรรมของสถาบันธนาคารโลก (World Bank Institute) แล้ว ก็จะพบว่าในปี 2550 สถานะของหลักนิติธรรมในอาเซียนนั้น เราดีกว่าเพียงพม่า กัมพูชา ลาว เวียดนาม และฟิลิปปินส์เท่านั้น

      4. การลุกลามของความขัดแย้งในประเทศเป็นปัญหาระหว่างประเทศของไทยกับเพื่อนบ้าน คือกัมพูชา ซึ่งถ้าไม่จัดการให้ดีก็จะกระทบกับผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ และการเมืองระหว่างประเทศ ทั้งอาจลุกลามไปสู่ภูมิภาคก็เป็นได้



      5. ผลกระทบทางเศรษฐกิจนั้น ยังไม่มีสถาบันใดทำตัวเลขให้เห็นชัดสำหรับความสูญเสียดังกล่าวของประเทศไทย แต่ถ้าเทียบกับประเทศเกาหลีใต้ที่ความรุนแรงของความขัดแย้งของสังคมน้อยกว่า ไทยมาก ก็จะเห็นความน่ากลัว จากรายงานของสถาบันพัฒนาเกาหลี (Korean Development Institute) ในปี 2549 ซึ่งระบุว่ามีการเดินขบวน 11,036 ครั้ง ทำให้เกิดผลกระทบทางเศรษฐกิจถึง 5.6 –9.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ  ประเทศไทยมีความรุนแรงกว่ามาก แต่ยังไม่มีใครทำตัวเลขออกมาทั้งหมดที่กล่าวมาเป็นผลที่เกิดขึ้นแล้ว แต่ถ้าดูผลที่ยังไม่เกิดขึ้น แต่จะเกิดขึ้นในระยะต่อๆ ไปก็คือ ความเชื่อมั่นของสังคมโลกต่อประเทศไทย ทั้งในทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม คงถูกกระทบอย่างรุนแรงอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนในประวัติศาสตร์.

      อะไรคือสาเหตุแห่งความขัดแย้ง?



      หากพิจารณาอย่างผิวเผินความขัดแย้งนี้ เป็นเรื่อง “บุคคล” ระหว่างอดีตนายกรัฐมนตรีและผู้สนับสนุน กับฝ่ายต่อต้าน ถ้าวิเคราะห์แนวนี้ เราก็พอจะมองออกว่า เมื่ออดีตนายกรัฐมนตรีและผู้สนับสนุนกับฝ่ายต่อต้าน ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเลิกราไปไม่ว่าจะด้วยเหตุใด ความขัดแย้งนี้ก็จบ และประเทศไทยก็เดินต่อไปได้ตามปกติ



      แต่จุดอ่อนการวิเคราะห์แนวนี้ก็คือ ไม่ได้ดูที่ “ต้นเหตุ” ของการได้มาซึ่งอำนาจการเมืองของผู้มีอำนาจเดิม และการใช้อำนาจ (ซึ่งรวมถึงอำนาจตามกฎหมาย อิทธิพลหรืออำนาจในความเป็นจริงและเงิน) ว่ามีฐานมาจากความขัดแย้งเชิงโครงสร้างทางเศรษฐกิจและทางสังคมที่ซ่อนตัวอยู่ ความขัดแย้งดังกล่าว มีลักษณะบุคคลของคู่ขัดแย้งอยู่ก็จริง โดยรากฐานสำคัญก็คือความขัดแย้งเชิงโครงสร้างในการจัดสรรทรัพยากรและความมั่งคั่ง ระหว่าง “คนมี” กับ “คนไม่มี” รวมถึงแนวความคิดและความคาดหวังต่อระบอบประชาธิปไตยที่แตกต่างกัน

      นับตั้งแต่ที่ประเทศไทยได้ประกาศใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมเป็นครั้งแรก เมื่อปี 2504 มีการกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศโดยเน้นการผลิตเพื่อทดแทนการนำเข้า (import substitution) ซึ่งต้องอาศัยการพึ่งพาเงินทุนมหาศาลจากต่างประเทศ นโยบาย และกฎหมายต่างๆ ที่ออกในช่วงนี้ก็เป็นไปเพื่อตอบสนองยุทธศาสตร์ดังกล่าวทั้งสิ้น เช่น กฎหมายส่งเสริมการลงทุน กฎหมายการนิคมอุตสาหกรรม กฎหมายการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว ฯลฯ ต่อมายุทธศาสตร์ก็เปลี่ยนเป็นการผลิตเพื่อส่งออก (export oriented) ในแผน 4 และแผน 5 อย่างไรก็ดี การเกษตรกรรมที่เคยเป็นรายได้หลักของประเทศกลับไม่ได้รับความสำคัญ ดังนั้น การเพิ่มผลผลิตจึงเป็นไปด้วยการขยายพื้นที่ ไม่ใช่ด้วยการเพิ่มผลิตภาพต่อไร่ ทั้งยังไม่มียุทธศาสตร์การพัฒนาการเกษตรและเกษตรกร ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ



      นอกจากไม่มียุทธศาสตร์พัฒนายกเว้นการพยุงราคาเมื่อมีปัญหาแล้ว ในหลายกรณี รัฐก็กลับกระทำการที่เป็นผลเสียต่อเกษตรกรเสียเอง อาทิ การเก็บพรีเมี่ยมข้าวที่ส่งออก ซึ่งส่งผลให้ผู้ส่งออกผลักภาระไปกดราคาซื้อข้าวจากชาวนาให้ตกต่ำลงไป นโยบายส่งเสริมธุรกิจและอุตสาหกรรมขนาดใหญ่เพื่อการส่งออก ละเลยธุรกิจขนาดกลางขนาดเล็ก และไม่ไยดีกับการพัฒนาการเกษตรและเกษตรกรซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศนี้



      จากนโยบายดังกล่าว ทำให้เกิดความกระจุกตัวของความมั่งคั่งอย่างมหาศาล ในขณะที่เกิด “คนมั่งมีมหาศาล” และ “คนชั้นกลาง” ที่มีอำนาจต่อรองในระบบเศรษฐกิจแบบตลาด และเข้าถึงทรัพยากรขึ้นในเมือง ก็เกิด “คนจน” ที่เป็นเกษตรกรและอยู่ในชนบทมาก และแม้ว่าประเทศไทยจะมีรายได้ประชาชาติต่อคนเพิ่มขึ้น สัมประสิทธิ์จีนีก็ไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก ในปี 2505 กลุ่มประชากรที่มีรายได้สูงที่สุด 20% เป็นเจ้าของรายได้โดยรวมทั้งหมดของประเทศถึง 59% ในขณะที่กลุ่มประชากรที่มีรายได้น้อยที่สุด 20%เป็นเจ้าของรายได้โดยรวมทั้งหมดของประเทศเพียง 2.9% ส่วนในปี 2518 อัตราส่วนอยู่ที่ 49.24 % ต่อ 6.05 % และในล่าสุดในปี 2549 ที่ผ่านมา อัตราการกระจายรายได้ก็ยังคงความเหลื่อมล้ำอยู่ที่ 56.29% ต่อ 3.84 %




      โครงสร้างที่ไม่เท่าเทียมกันทางเศรษฐกิจในสังคมไทยจึงก่อให้เกิดผลกระทบต่อระบบการเมืองเช่นกัน กล่าวคือ “คนจน” และเกษตรกรเหล่านี้ไม่มีอำนาจต่อรองในระบบเศรษฐกิจแบบตลาดเหมือนคนชั้นกลาง และเข้าไม่ถึงทรัพยากร (ซึ่งในอดีตเคยเข้าถึง แต่ถูกรัฐส่วนกลางรวบอำนาจจัดการแต่ผู้เดียวไว้) คนเหล่านี้จึงต้อง “พึ่งพิง” ผู้มีทรัพยากรในหัวเมือง ภายใต้ระบบอุปถัมภ์แบบไทยเดิม และทำให้คนเหล่านี้เป็น “ผู้มีอิทธิพล” และสามารถได้รับความไว้วางใจเลือกให้เข้ามาทำหน้าที่แทนในฐานะผู้แทนราษฎรในระบอบประชาธิปไตย และก้าวไปสู่อำนาจรัฐที่มากกว่านั้นในฐานะรัฐมนตรี





      การที่ระบบเศรษฐกิจไทยก็ยังไม่ใช่ระบบเศรษฐกิจเสรีที่อาศัยกลไกตลาดเต็มที่ และรัฐยังคงครอบครองทรัพยากรสำคัญไว้และให้สัมปทานแก่เอกชน การเข้าสู่อำนาจการเมืองจึงไม่ได้หมายถึงการมี “อำนาจ” เท่านั้น แต่หมายถึง “โอกาส” ทางธุรกิจและเศรษฐกิจที่เกิดจากการมีอำนาจให้สัมปทาน หรืออาจได้รับสัมปทานเสียเอง ซึ่งในหลายกรณีทำให้บุคคลเหล่านี้กลายเป็น “ผู้มั่งมี” ขึ้นได้ในเวลาอันรวดเร็ว การทุจริตและการประพฤติมิชอบในรูปแบบต่างๆก็เกิดขึ้นโดยทั่วไป ทั้งระดับการตัดสินใจของรัฐทางการเมือง ทั้งในระบบการเลือกตั้ง 

โครงสร้างที่ไม่เท่าเทียมกันในสังคมและระบบการพึ่งพิงกันแบบอุปถัมภ์ฝังรากลึกอยู่ในระบบการเมืองไทยตั้งแต่ พ.ศ.2475 โดยมีลักษณะสำคัญก็คือสภาพที่นักวิชาการเรียกว่า “คนจน” ซึ่งต้องพึ่งพิงการอุปถัมภ์และเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ เป็น “ฐานเสียง” และเป็นผู้ก่อให้เกิดเสียงข้างมากในสภาและรัฐบาล แต่ “คนชั้นกลาง” เป็น “ฐานนโยบาย” เพราะเสียงดังกว่าและมีอำนาจล้มล้างรัฐบาลที่ตนไม่ชอบได้ ในขณะที่ข้าราชการทหารพลเรือนซึ่งเป็นตัวแทนอำนาจรัฐที่แท้จริง ก็ยังคงแย่งชิงอำนาจทางการเมืองกับพรรคการเมืองและผู้ที่มาจากการเลือกตั้ง



      ซึ่งก่อให้เกิดผลสำคัญในระบอบการเมืองไทย คือ ในระยะเวลา 78 ปีของระบบรัฐสภา ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรี 27 คน มีคณะรัฐมนตรี 59 ชุด มีรัฐธรรมนูญ 18 ฉบับ มีกบฏ 11 ครั้ง มีการปฏิวัติรัฐประหาร 12 ครั้ง
 !!



      สำหรับเม็ดเงินภายในประเทศนั้น ซึ่งหากดูจากบัญชีเงินฝากในธนาคาร มีเพียง 70,000 บัญชี ที่มีเงินในแต่ละบัญชีสูงกว่า 10 ล้านบาท และถือเป็นร้อยละ 42 ของจำนวนเงินที่มีอยู่ในระบบทั้งหมด นั่นหมายความว่า ถ้าคนแต่ละคนมีบัญชีธนาคารคนละ 2 บัญชี แสดงว่ามีคนเพียง 35,000 คนเท่านั้น ที่เป็นเจ้าของเงินเกือบครึ่งหนึ่งในประเทศ



      ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้แสดงให้เห็นว่าความขัดแย้งระหว่าง “คนมั่งมีมหาศาล” และ “คนชั้นกลาง” ฝ่ายหนึ่ง กับ “คนจนส่วนใหญ่” อีกฝ่ายหนึ่งซ่อนตัวอยู่ใต้เศรษฐกิจแบบกึ่งเปิดกึ่งปิด และการเมืองแบบกึ่งเผด็จการกึ่งประชาธิปไตย ความขัดแย้งนี้ เป็นความขัดแย้งเชิงโครงสร้างที่รอวันปะทุขึ้น ไม่วันใดก็วันหนึ่ง

แม้ว่าจะมีความพยายามปฏิรูปการเมืองโดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ซึ่งมีเจตนารมณ์ทำให้การเมืองเป็นของพลเมืองด้วยการขยายสิทธิ เสรีภาพ และส่วนร่วมทางการเมืองให้มากขึ้น พยายามทำให้ระบอบการเมืองโปร่งใสและสุจริตด้วยการเพิ่มองค์กรตรวจสอบมากถึง 8 องค์กร และมีกระบวนการตรวจสอบหลายชั้น รวมทั้งการทำให้รัฐบาลมีเสถียรภาพและประสิทธิภาพก็ตาม



      แต่รัฐธรรมนูญฉบับนี้ ก็ไม่ได้ปรับความขัดแย้งเชิงโครงสร้างที่ฝังลึกและซ่อนอยู่อย่างจริงจัง โดยเฉพาะความขัดแย้งที่เกิดมาจากการจัดสรรทรัพยากรของรัฐไทย ซึ่งเป็นปัญหาทางเศรษฐกิจ ตรงกันข้าม กลับทำให้พรรคการเมืองต่างๆ มุ่งแสวงหาประโยชน์จากข้อได้เปรียบในที่อยู่ในตัวรัฐธรรมนูญเอง ในขณะที่ข้อบกพร่องที่มีอยู่ในรัฐธรรมนูญเป็นตัวจุดชนวนความขัดแย้งที่กำลังจะปะทุขึ้น.

      วันพุธที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2555

      ความขัดแย้งไทย-กัมพูชา

      ความขัดแย้งไทย-กัมพูชา



      ความขัดแย้งไทย-กัมพูชา เป็นเหตุการณ์ที่เริ่มต้นในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2551 เหนือกรณีพิพาทพรมแดนพื้นที่ปราสาทพระวิหาร หลังจากนั้น ก็ได้มีการปะทะระหว่างกำลังทหารทั้งสองฝ่ายหลายครั้ง พร้อมกับการอ้างสิทธิ์ของแต่ละฝ่ายเหนือดินแดนพิพาทดังกล่าว

      เบื้องหลัง
      เมื่อ พ.ศ. 2550 ประเทศกัมพูชาได้เสนอต่อองค์การยูเนสโก ในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลก สมัยที่ 31 ณ เมืองไครสต์เชิร์ช นิวซีแลนด์ ให้ขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก แต่ประเทศไทยมีปัญหาว่าแผนที่ที่กัมพูชาแนบท้ายว่าเป็นอาณาบริเวณของปราสาทพระวิหารนั้นได้ขีดเส้นเขตแดนล้ำเข้ามาในบริเวณทางทิศเหนือและทิศตะวันตกของปราสาท ซึ่งเป็นพื้นที่ทับซ้อน และได้ขีดเส้นเขตแดนประเทศล้ำเข้ามาในฝั่งไทย[6]
      เมื่อทราบดังนั้นกระทรวงต่างประเทศจึงหารือกับทางกัมพูชา เพื่อให้ร่วมกับฝ่ายไทย จดทะเบียนโบราณสถานอื่นในเขตไทยและพระวิหารของกัมพูชาร่วมกันในทีเดียว เพื่อความสมบูรณ์ของบริเวณพระวิหาร และให้กัมพูชาเปลี่ยนแผนที่ให้ไม่ล้ำเข้ามาในเขตไทยและพื้นที่ทับซ้อน และได้ขอให้ที่ประชุมคณะกรรมการมรดกโลก สมัยที่ 31 เลื่อนการพิจารณาขึ้นทะเบียนของกัมพูชาออกไป[6]

       ลำดับเหตุการณ์

       พ.ศ. 2551

      มกราคม พ.ศ. 2551 สภากลาโหมของไทยมีมติประท้วงกัมพูชาในกรณีเสนอขึ้นทะเบียนปราสาทเขาพระวิหารเป็นมรดกโลกแต่ลำพังและกล่าวหาว่ากัมพูชาสร้างหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่เป็นเท็จ ทั้งนี้ฝ่ายกองทัพได้แสดงท่าทีวิตกว่าอาจเกิดความรุนแรงในบริเวณชายแดนได้[7]
      พฤษภาคม พ.ศ.2551 พล.ท.วิบูลย์ศักดิ์ หนีพาล แม่ทัพภาคที่ 2 ได้ประกาศพระราชบัญญัติกฎอัยการศึก พ.ศ.2547ครอบคลุมอำเภอ กันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ[8] แม้ว่าพื้นที่ดังกล่าวจะเคยเป็นพื้นที่ประกาศพระราชบัญญัติกฎอัยการศึกพ.ศ.2547 ช่วงเหตุการณ์รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549ต่อมาได้ยกเลิกไปในวันที่ 17 เมษายน พ.ศ.2551[9]
      ต่อมาเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 นพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศของไทย ได้หารือร่วมกับนายสก อาน ที่เกาะกง ประเทศกัมพูชา โดยฝ่ายกัมพูชาตกลงที่จะเปลี่ยนแผนที่ที่แนบในเอกสารคำขอยื่นขึ้นทะเบียนมรดกโลก โดยจดทะเบียนเฉพาะตัวปราสาทประวิหารเท่านั้น ซึ่งตัวปราสาทนี้ศาลโลกได้พิพากษาตั้งแต่ พ.ศ. 2505 แล้วว่าเป็นของกัมพูชา[6]
      ทางกัมพูชาส่งแผนฟังที่ปรับแก้ไขใหม่มาให้ฝั่งไทย เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน กรมแผนที่ทหารได้ตรวจสอบว่าแผนที่ใหม่ที่ส่งมานั้นไม่มีการล้ำเข้ามาในเขตไทย สภาความมั่นคงแห่งชาติจึงได้พิจารณาเห็นชอบ และคณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบร่างคำแถลงการร่วม[6] ต่อมาเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2551 นายนพดล ปัทมะ ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศได้ลงนามคำแถลงการร่วมกับฝ่ายกัมพูชาและยูเนสโก[6]
      วันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2551 พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เคลื่อนขบวนไปชุมนุมหน้ากระทรวงการต่างประเทศเพื่อขับไล่นายนพดล ปัทมะ ให้ออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และเพื่อยื่นหนังสือทวงถามกรณีข้อพิพาทเรื่องเขาพระวิหาร เนื่องจากไม่ยอมเปิดเผยแผนที่ให้ประชาชนได้รับรู้ หลังจากตกลงร่วมกับประเทศกัมพูชาไปก่อนหน้านี้[10][11][12]
      วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2551 นายสุวัตร อภัยภักดิ์ นายสุริยะใส กตะศิลา ผู้ประสานงานพันธมิตรฯ และ คณะ รวม 9 คน เป็นตัวแทนพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ไปยื่นคำร้องต่อศาลปกครองกลาง ให้กระทรวงการต่างประเทศและคณะรัฐมนตรียุติการดำเนินการตามมติ ครม.ที่รับรองการออกแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชาสนับสนุนให้กัมพูชาจดทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก ไปจนกว่าคดีจะเป็นที่สิ้นสุด เนื่องจากพบว่า แผนผังที่ร่างโดยกัมพูชาล้ำเข้ามาในเขตแดนไทยไม่น้อยกว่า 4.6 ตารางกิโลเมตร ตามแผนที่ฝ่ายไทยที่ยึดถือตามมติคณะรัฐมนตรี พ.ศ. 2505 หลังคำตัดสินของศาลโลก และทั้งยังจะสละสิทธิในข้อสงวนที่ไทยจะทวงปราสาทเขาพระวิหาร กลับคืนมาในอนาคต และการดำเนินการ ของผู้เกี่ยวข้องไม่ดำเนินตามขั้นตอนทางกฎหมาย
      วันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2551 หม่อมหลวงวัลย์วิภา จรูญโรจน์ ผู้อำนวยการสถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พร้อมนักวิชาการ เดินทางมาพบ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เพื่อรับมอบรายชื่อผู้คัดค้านการขึ้นทะเบียนเขาพระวิหารเป็นมรดกโลก ซึ่งในส่วนของพันธมิตรฯ ได้มีการมอบรายชื่อให้กับทางสถาบันไทยคดีศึกษาไปแล้ว 6,000 รายชื่อ และวันที่ 27 มิถุนายน มอบให้อีก 3,488 รายชื่อ ซึ่งล่าสุดตัวเลขของผู้ที่คัดค้านการขึ้นทะเบียนเขาพระวิหารมีทั้งหมด 33,400 รายชื่อ ภายหลังจากที่มีการรับมอบรายชื่อจากแกนนำกลุ่มพันธมิตรแล้ว ม.ล.วัลวิภา ยังได้ไปยื่นหนังสือคัดค้านเรื่องนี้ ต่อนายจุลยุทธ หิรัณยะวสิต ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีที่ทำเนียบรัฐบาลด้วย[13]
      วันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2551 ศาลปกครองกลาง มีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว ให้กระทรวงการต่างประเทศและคณะรัฐมนตรียุติการดำเนินการตามมติครม.ที่รับรองการออกแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชาสนับสนุนให้กัมพูชาจดทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก ไปจนกว่าคดีจะเป็นที่สิ้นสุด หรือจนกว่าศาลจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น ทั้งนี้ศาลได้ไต่สวนฉุกเฉินคู่ความทั้ง 2 ฝ่ายเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน และใช้เวลาไต่สวนกว่าสิบชั่วโมง จนมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวเมื่อเวลา 02.00 น. ได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งดังนี้[14][15]
      1. ให้เพิกถอนการกระทำของนายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศที่เสนอร่างคำแถลงการณ์ร่วม ฯ ต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาและมีมติคณะรัฐมนตรีเห็นชอบ
      2. เพิกถอนมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 17 มิถุนายน 2551 ที่มีมติเห็นชอบร่างคำแถลงการณ์ร่วม ฯ โดยมอบหมายให้นายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเป็นผู้ลงนามในแถลงการณ์ร่วม ฯ
      3. ให้เพิกถอนการลงนามในคำแถลงการณ์ร่วม ฯ ของนายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศที่ลงนามเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2551
      4. มีคำสั่งให้นายนพดล ปัทมะ ยุติความผูกพันตามคำแถลงการณ์ร่วม ฯ ต่อประเทศกัมพูชาและองค์การยูเนสโก
      ขณะเดียวกันพรรคประชาธิปัตย์ซึ่งเป็นพรรคการเมืองฝ่ายค้านได้ยื่นเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความข้อตกลงกับกัมพูชาว่าเข้าข่ายเป็นหนังสือสัญญาหรือไม่ ต่อมาวันที่ 8 กรกฎาคม ศาลรัฐธรรมนูญได้ชี้ขาดว่าข้อตกลงดังกล่าวเป็นหนังสือสัญญาซึ่งจะต้องผ่านการเห็นชอบของรัฐสภาก่อน[16]
      เวลา 2.00 น. วันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 (ตามเวลาประเทศไทย) ที่นครควิเบก ประเทศแคนาดา องค์การยูเนสโกประกาศขึ้นทะเบียนตามคำขอของกัมพูชาให้ตัวปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก พร้อมกับสถานที่อื่นอีก 4 แห่ง พ.ศ. 2552
      วันที่ 3เมษายน พ.ศ.2552 ประเทศกัมพูชาได้ปะทะกับประเทศไทยด้วยอาวุธเป็นครั้งแรกเหตุการณ์เริ่มตั้งแต่ช่วงเข้า และมีการปะทะกันรอบสองในวันเดียวกันซึ่งการปะทะกันรอบสอง กองทัพกัมพูชาได้ยิงจรวดอาร์พีจีเข้ามาในฝั่งไทย ส่งผลให้ทหารเสียชีวิตสองนาย[17] วันที่ 22-30 มิถุนายน พ.ศ. 2552 มีการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยที่ 33 ที่เมืองเซบีญา ราชอาณาจักรสเปน ประเทศไทย มีนายสุวิทย์ คุณกิตติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทย ได้ยื่นหนังสือคัดค้านการปฏิบัติงานของคณะกรรมการมรดกโลก ว่าไม่เป็นไปตามธรรมนูญของสหประชาชาติ
      วันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 คณะรัฐมนตรีมีมติเรียนเอกอัคราชฑูตไทยประจำประเทศกัมพูชากลับประเทศเพื่อประท้วงการแต่งตั้งอดีตนายกรัฐมนตรีพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตรเป็น ที่ปรึกษาทางเศรษฐกิจ และที่ปรึกษาส่วนตัวของนายกรัฐมนตรีประเทศกัมพูชารวมถึงการปฏิเสธการส่งตัวให้ทางการราชอาณาจักรไทยในฐานะผู้ร้ายข้ามแดน[18]โดยกระทรวงการต่างประเทศให้เหตุผลในแถลงการณ์ตอนหนึ่งว่า เนื่องจาก พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นผู้หลบหนีคดีอาญา ตามหมายจับของศาล
      เหตุคนไทยถูกทหารกัมพูชาจับกุม พ.ศ. 2554
      วันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2553 พนิช วิกิตเศรษฐ์ พร้อมกับพวกจำนวน 6 คน ซึ่งบางส่วนเป็นสมาชิกเครือข่ายคนไทยหัวใจรักชาติ ประกอบด้วยวีระ สมความคิด, กิชพลธรณ์ ชุสนะเสวี, ร้อยตรีแซมดิน เลิศบุศย์, ตายแน่ มุ่งมาจน, นฤมล จิตรวะรัตนา และราตรี พิพัฒนาไพบูรณ์ ขณะลงพื้นที่ตรวจสอบที่ได้รับเรื่องร้องเรียนว่าทหารกัมพูชารุกล้ำเข้ามาในเขตไทย บริเวณอำเภอโคกสูง จังหวัดสระแก้ว[19] ได้ข้ามแดนบริเวณหลักเขตแดนที่ 46 บ้านภูมิโจกเจย (บ้านโชคชัย) ตำบลโอเบยเจือน อำเภอโจรว จังหวัดบันเตียเมียนเจย และถูกทหารรักษาชายแดนที่ 503 ของกัมพูชาควบคุมตัว[20] โดยศาลเขตพนมเปญได้ตั้งข้อหาพนิช และพวกในข้อหาเดินทางข้ามพรมแดนโดยผิดกฎหมาย และรุกล้ำเขตทหาร ได้ถูกนำตัวไปขังไว้ในเรือนจำเปนย์ ซาร์ นอกกรุงพนมเปญ[21] ด้านกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้เดินทางเข้าพบฮอร์ นำฮง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศกัมพูชา เพื่อเจรจาในประเด็นดังกล่าว[22] ฝ่ายทนายความเตรียมยื่นขอประกันตัวทันทีที่มีการพิจารณาคดี[23]
      การเข้าไปในพื้นที่ทับซ้อนไทย-กัมพูชาดังกล่าว มีรายงานว่า พนิชได้รับมอบหมายจากอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ให้ไปทำความเข้าใจกับพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย หลังจากที่มีการยืนยันว่าทหารกัมพูชาเข้ามาในดินแดนไทย แต่การกระทำดังกล่าวปราศจากการประสานความร่วมมือกับฝ่ายกัมพูชา จึงทำให้ถูกจับกุมในที่สุด[24] ส่วนทางด้านประธานคณะกรรมาธิการร่วมพิจารณาบันทึกการประชุมคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา รัฐสภา ปฏิเสธว่าไม่ได้ส่งพนิชและคณะลงพื้นที่[25]
      ทางกลุ่มคนไทยหัวใจรักชาติ ได้เดินทางมายังสถานทูตกัมพูชาประจำประเทศไทย โดยมีการเผาโลงศพที่มีภาพฮุน เซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา ติดอยู่ที่ฝาโลง พร้อมกับพวงหรีด เป็นการประท้วง พร้อมทั้งเรียกร้องให้มีการปล่อยตัวคณะทั้งหมด โดยขั้นต่อไปอาจชุมนุมประท้วงต่อที่หน้าทำเนียบรัฐบาล[19]
      ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ โฆษกพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ได้เปิดเผยเอกสารสิทธิ์ที่ดินของเบ พูลสุข แสดงบริเวณที่บุคคลทั้งหมดถูกจับกุมตัว เป็นน.ส.3 ก ที่ออกโดยกรมที่ดิน ระบุวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2517 [26] ขณะที่ทางการกัมพูชานำวิดีโอหลักฐานมาเปิดดูปรากฏว่าคณะดังกล่าวรุกเข้าไปในเขตกัมพูชาจริง[21] ชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวยอมรับว่า พนิชและคณะได้รุกล้ำอาณาเขตกัมพูชาจริง แต่ไม่น่าจะมีเจตนา โดยเป็นการกระทำจากความประมาท พร้อมทั้งเรียกร้องให้กลุ่มต่าง ๆ ยุติความเคลื่อนไหวเรียกร้องให้มีการปล่อยตัวพนิช เนื่องจากอาจทำให้ทางกัมพูชาไม่พอใจ และเป็นอุปสรรคต่อการช่วยเหลือ[27]
      ส่วนทางด้านพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า การที่พนิชเดินทางไปยังพื้นที่ทับซ้อนโดยไม่มีการประสานงานกับกัมพูชาก่อนเป็นเรื่องที่ไม่เหมาะสม พร้อมเรียกร้องให้รัฐบาลออกมาชี้แจงการกระทำดังกล่าวถึงสาเหตุและที่มาของการเดินทางเข้าไปในพื้นที่ดังกล่าว และแสดงความเป็นห่วงที่วีระ สมความคิดถูกจับกุมไปด้วย เกรงว่าอาจมีการปลุกกระแสทำให้ปัญหาบานปลาย[28] สุนัย จุลพงศธร หนึ่งในคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา เปิดเผยว่า ตนพร้อมจะนำประเด็นดังกล่าวมาหยิบยกเป็นหัวข้ออภิปรายไม่ไว้วางใจ ซึ่งหากนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ส่งไปจริง ก็จะต้องมีการแสดงความรับผิดชอบด้วย[29]
      วันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2554 กลุ่มเครือข่ายประชาชนไทยหัวใจรักชาติ เดินทางยื่นหนังสือร้องเรียนต่อสหประชาชาติให้เข้ามาดูแลเรื่องดังกล่าว โดยเห็นว่าคณะเป็นคนไทย หากกระทำความผิดก็ต้องขึ้นศาลไทย เป็นการรุกรานและคุกคามสิทธิพลเมืองของชาติที่มีปัญหาชายแดนระหว่างกัน ขัดต่อข้อตกลงเจนีวา (พ.ศ. 2492)[21] พร้อมทั้งแถลงข่าวว่า พื้นที่ที่ 7 คนไทยถูกจับอยู่ในเขตที่ดินของเบ พูลสุข ราษฎรชาวไทย เป็นพื้นที่ของไทยไม่ใช่ของเขมร ซึ่งสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติเคยจัดตั้งศูนย์อพยพชั่วคราวในพื้นที่ดังกล่าวเมื่อปี พ.ศ. 2520 แต่เมื่อเหตุการณ์สงบชาวกัมพูชาก็ไม่ยอมอพยพออกไปจากพื้นที่ [21] วันเดียวกัน ทางกลุ่มมีแผนจะนำหลักฐานมาแถลงข่าวยังทำเนียบรัฐบาล พร้อมประกาศจะนำมวลชนไปยังบริเวณที่คณะถูกจับกุมในวันที่ 3 มกราคม[21]
      วันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2554 มีการรายงานว่า ภรรยาพนิช วิกิตเศรษฐ์ และเจ้าหน้าที่สถานทูตไทย ได้เข้าเยี่ยมคนไทยที่ถูกจับกุมทั้งเจ็ดคนแล้ว เพื่อดูแลเรื่องอาหารและเสื้อผ้า[30]
      วันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2554 ธานี ทองภักดี อธิบดีกรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ เปิดเผยว่า ศาลกัมพูชานัดไต่สวนคนไทยทั้งเจ็ดคนในวันรุ่งขึ้น เวลา 8.00 น. ซึ่งทางกระทรวงการต่างประเทศพร้อมให้ความช่วยเหลือทั้งเจ็ดคนโดยเท่าเทียมกัน ด้านพลตรีนพดล โชติศิริ รองเจ้ากรมแผนที่ทหาร กล่าวว่า หลังจากที่ได้มีการสั่งเจ้าหน้าที่ไปวัดพิกัดกำหนดจุดที่ถูกจับกุม ผลการวัดพบว่า คณะคนไทยรุกล้ำเข้าไปในดินแดนของกัมพูชาซึ่งเป็นพื้นที่ทับซ้อนอยู่ 55 เมตร ด้านวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล สมาชิกคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา ระบุว่า อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ทราบอีกด้วยว่าคณะคนไทยดังกล่าวเข้าไปในเขตแดนกัมพูชา จึงอยากให้ออกมาแสดงความยอมรับผิด[31]
      วันที่ 7 มกราคม พนิชให้การต่อศาลว่าเดินทางเข้าไปในพื้นที่ เพื่อพบชาวบ้านที่อ้างว่าชาวกัมพูชาย้ายหลักหมุดบนดินแดนของไทย พร้อมกับให้การว่าเป็นการเดินทางเข้าไปโดยอุบัติเหตุ แต่เหมือนจะขัดแย้งกับคำกล่าวของพนิชในหลักฐานคลิปวิดีโอ ที่พนิชให้ผู้ติดตามเรียนอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ว่า คณะได้ข้ามมาในฝั่งกัมพูชาแล้ว[32] ด้านทนายความเตรียมยื่นประกันตัวในวันที่ 10 มกราคม เพราะศาลกัมพูชายังคงปิดทำการในวันหยุดราชการ โดยคณะคนไทยทั้งเจ็ดถูกนำตัวกลับไปคุมขัง[33]
      วันที่ 13 มกราคม มีรายงานว่า ศาลกัมพูชาให้ประกันตัวพนิช วิกิตเศรษฐ์ และนฤมล จิตรวะรัตนา โดยยังคงอยู่ระหว่างสู้คดีในข้อหาเข้าเมืองผิดกฎหมายและเข้าไปในเขตทหารโดยไม่ได้รับอนุญาต ส่วนคนไทยที่เหลือยังไม่ได้รับการประกันตัว เงื่อนไขการประกันตัว ได้แก่ ห้ามเดินทางออกนอกประเทศ วางเงินประกันคนละ 1 ล้านเรียล (10,000 บาท) และต้องไปรายงานตัวตามนัดเรียก โดยขณะนี้ทั้งสองยังพำนักอยู่ที่สถานทูตไทย[34] ด้าน ธานี ทองภักดี อธิบดีกรมสารสนเทศ ระบุว่า ศาลกัมพูชาไม่ได้ให้เหตุผลที่ยอมให้ประกันตัวทั้งสอง แต่เห็นว่า น่าจะเป็นเพราะปัญหาด้านสุขภาพ ที่ทั้งสองป่วยเป็นโรคความดันโหลิตสูงและโรคไทรอยต์ตามลำดับ ส่วนคนไทยที่เหลือ ทนายความยื่นอุทธรณ์แล้วเมื่อวันที่ 14 มกราคม[35]
      วันที่ 19 มกราคม ศาลกัมพูชาให้ประกันตัวคนไทยเพิ่มอีก 4 คน เหลือเพียงวีระ สมความคิดเท่านั้น โดยให้เหตุผลว่าวีระถูกมองว่าเป็นภัยต่อความมั่นคงของกัมพูชา[36] วันที่ 21 มกราคม ศาลกัมพูชาได้พิจารณาตัดสินคดี ซึ่งกำหนดเดิมคือ วันที่ 1 กุมภาพันธ์ เมื่อเวลา 19.35 น. ศาลกัมพูชาได้ตัดสินว่าคนไทยทั้ง 5 คน ได้แก่ พนิช กิชพลธรณ์ ร.ต.แซมดิน ตายแน่ และนฤมล มีความผิดฐานเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย โดยให้จำคุกคนละ 9 เดือน แต่ให้ลดเหลือ 8 เดือน และให้รอลงอาญาไว้ก่อน หลังจากการตัดสินดังกล่าว ทำให้คนไทยทั้ง 5 คนสามารถเดินทางกลับประเทศได้ทันที[37] เหตุปะทะกันบริเวณชายแดน พ.ศ. 2554

       กุมภาพันธ์

      เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ ระหว่างการปะทะกันนานถึง 4-5 ชั่วโมง สำนักข่าวซินหัว รายงานว่า ทหารไทยเสียชีวิต 7 นาย ส่วนทหารกัมพูชาเสียชีวิต 1 นาย และได้รับบาดเจ็บ 4 นาย[38] ส่วนหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์รายงานว่าทหารไทยได้รับบาดเจ็บ 2-3 นาย[39] ทหารกัมพูชาเสียชีวิต 1 นาย และมีการจับกุมทหารไทยไป 5 นาย[40] พลเรือนไทยคนหนึ่งเสียชีวิตจากกระสุนปืนใหญ่[41]
      วันที่ 5 กุมภาพันธ์ ทหารไทยและกัมพูชาปะทะกันอีกรอบ ทหารไทย 1 นาย ถูกจับกุมระหว่างการปะทะ[42]
      วันที่ 6 กุมภาพันธ์ CNN รายงานว่า ไทยได้ถล่มกัมพูชายับเยินโดยยิงปืนใหญ่ 155 มม. ปูพรมไปทั่วแดนกัมพูชา ถนนและฐานทหารเสียหายมากมาย รถถังและรถหุ้มเกราะกัมพูชาเสียหายใช้การไม่ได้กว่าสามสิบคัน ส่วนรายชื่อผู้เสียชีวิตของทหารกัมพูชายังมิอาจประเมินได้เนื่องจากพื้นที่ไฟไหม้ แต่คาดว่าไม่น่าจะต่ำกว่าหกร้อยนาย [43]
      วันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยประกาศ พื้นที่ตำบลเสาธงชัย หมู่ที่ 2 3 9 10 12 13 และตำบลรุง หมู่ที่ 5 7 10 อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ เป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติ อันเนื่องจากกองกำลังจากนอกประเทศ พร้อมจัดตั้งศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจช่วยเหลือผู้ประสบภัยจังหวัดศรีสะเกษ ณ ที่ว่าการอำเภอกันทรลักษณ์ ส่วนรัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศทำหนังสือชี้แจงถึงคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ[44]
      ทางการมีการประกาศให้ประชาชนเข้าไปในหลุมหลบภัย และมีการอพยพย้ายออกจากพื้นที่ของประชาชน เพื่อป้องกันการที่ฝ่ายกัมพูชาใช้อาวุธหนักยิงเข้ามา ด้าน พันเอกสรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกกองทัพบก ให้สัมภาษณ์ว่า การปะทะกันของทหารทั้ง 2 ฝ่ายเริ่มขึ้นเมื่อเวลา 18.40 น. เริ่มจากทางทหารกัมพูชายิงพลุส่องสว่างเข้ามาตกที่บริเวณภูมะเขือ อ.กันทรลักษ์ หลังจากนั้นทหารกัมพูชายิงปืนใหญ่ของรถถังเข้ามาอีก ทำให้ทหารไทยต้องใช้มาตรการตอบโต้ โดยยิงเครื่องยิงลูกระเบิดสวนกลับไป[45]
      วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2554: ที่ประชุมคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ (UNSC) ได้ลงความเห็นปฏิเสธข้อเรียกร้องของสมเด็นฮุน เชน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา ที่ต้องการให้จัดประชุมฉุกเฉินประเทศสมาชิกคณะมนตรีฯ 15 ชาติและส่งกำลังทหารเข้ามารักษาความสงบในพื้นที่พิพาท โดยระบุควรแก้ไขปัญหากันเองในระดับภูมิภาค[46] วันเดียวกัน ไม่มีเหตุปะทะกันเพิ่มเติม แต่มีรายงานว่าทหารกัมพูชาได้ใช้ช่วงที่ยังหยุดยิงกันอยู่นี้ขุดที่ตั้งใหม่และจัดตั้งกระสอบทรายเพิ่มเติม[47] ทหารไทยนายหนึ่งซึ่งได้รับบาดเจ็บจากการยิงปืนใหญ่เมื่อวันที่ 6 เสียชีวิตเนื่องจากพิษบาดแผลที่โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์[48]
      วันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 นายกษิต ภิรมย์ได้แถลงด้วยวาจาต่อประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติที่นครนิวยอร์ก ในถ้อยแถลงการณ์ของรัฐมนตรีต่างประเทศระบุใจความตอนหนึ่งว่าฝ่ายกัมพูชาละเมิดข้อตกลงหยุดยิง ที่ได้ตกลงกันใน วันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 ณ ช่องสะงำในจังหวัดศรีสะเกษ ที่ทั้งสองฝ่ายได้บรรลุข้อตกลงที่จะหยุดยิงทันที ผู้บังคับการทหารระดับภูมิภาคของไทยและฝ่ายกัมพูชา เป็นตัวแทนเจรจา
      วันที่ 15 กุมภาพันธ์ ได้เกิดการปะทะกันรอบใหม่ขึ้น เหตุยิงกันดังกล่าวกินเวลาไม่กี่นาที ถึงแม้ว่าสื่อท้องถิ่นจะรายงานว่าทหารไทยได้รับบาดเจ็บ 5 นาย แต่กองทัพออกมาระบุว่ามีทหารได้รับบาดเจ็บ 1 นายจากการสู้รบ[49]
      วันที่ 16 กุมภาพันธ์ การปะทะกันทวีความรุนแรงขึ้น โดยมีการปะทะกันถึงสามครั้งในวันนี้ (5.00 น., 20.00 น., 22.00 น.) แต่ไม่มีรายงานผู้เสียชีวิตจากทั้งสองฝ่าย โฆษกกองทัพบกไทย สรรเสริญ แก้วกำเนิด ระบุว่า ฝ่ายกัมพูชาเป็นผู้เริ่มโจมตีก่อน โดยใช้ปืนครกและอาร์พีจี ทำให้ฝ่ายไทยต้องทำการตอบโต้[50] อย่างไรก็ตาม ปาย สิฟาน โฆษกคณะรัฐมนตรีกัมพูชาปฏิเสธว่ากัมพูชาเป็นฝ่ายเริ่มก่อน และกล่าวตรงกันข้าม กัมพูชาต้องการความช่วยเหลือจากนานาชาติเพื่อป้องกันมิให้มีการสู้รบเกิดขึ้นต่อไป ขณะที่ไทยกล่าวว่าปัญหาดังกล่าวควรได้รับการแก้ไขในระดับทวิภาคี[51] ในวันเดียวกัน มีรายงานที่ไม่ได้รับการยืนยันว่ารถถังเวียดนามได้มุ่งหน้ามายังชายแดนไทย-กัมพูชา[52] อย่างไรก็ตาม ฮุน เซน ปฏิเสธรายงานดังกล่าว[53]
      ในความตกลงซึ่งบรรลุในการประชุมอาเซียนในจาการ์ตา กัมพูชาและไทยตกลงที่จะให้ผู้สังเกตการณ์ชาวอินโดนีเซียสังเกตพื้นที่พิพาทพรมแดน โดยมีทั้งทหารและพลเรือนรวม 40 คน ด้านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอินโดนีเซียออกมาระบุว่า คณะที่ส่งไปนั้นมิใช่เพื่อรักษาสันติภาพหรือใช้กำลังให้เกิดสันติภาพ โดยคณะดังกล่าวจะไม่ติดอาวุธ[54]

      เมษายน- พฤษภาคม

      เมื่อวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2554 ทางการไทยได้ยอมรับว่ามีการใช้กระสุนระเบิดทวิประสงค์ (DPICM) ระหว่างการปะทะกันจริง ซึ่งถูกระบุตามจากกลุ่มเครือข่ายความร่วมมือต่อต้านระเบิดลูกปราย (CMC) ว่าเป็นระเบิดลูกปรายประเภทหนึ่ง[55] โดยอาวุธดังกล่าวประกอบด้วยระเบิดมือขนาดเล็กนับหลายร้อยลูก หรือลูกปราย ซึ่งกระจายไปกินอาณาบริเวณกว้าง และถูกห้ามโดยประเทศส่วนใหญ่ตามอนุสัญญาว่าด้วยระเบิดลูกปราย ประเทศไทยไม่ได้ลงนามในสนธิสัญญา แต่ได้ให้สัญญาอย่างเปิดเผยว่าจะไม่ใช้อาวุธดังกล่าว[56] ทาง CMC กล่าวว่าเหตุการณ์ครั้งนี้เป็นการใช้ระเบิดลูกปรายที่ได้รับการยืนยันครั้งแรกนับตั้งแต่อนุสัญญาได้กลายมาเป็นกฎหมายระหว่างประเทศ[55]
      ปราสาทตาเมือนธม
      วันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2554 ในช่วงเช้าได้เกิดการปะทะกันขึ้นบริเวณจังหวัดสุรินทร์[57] ด้านปราสาทตาควาย ต.บักได อ.พนมดงรัก เรื่อยมาจนถึงปราสาทตาเมือนธม ต.ตาเมียง อ.พนมดงรัก ทำให้ทหารไทยเสียชีวิต 4 นาย[58] และบาดเจ็บอีก 14 นาย[59] มีการพบลูกกระสุนปืนใหญ่ฝ่ายทหารเขมรยิงเข้าตกมายังฝั่งไทยที่บริเวณฝายน้ำล้น บ้านสายโท 12 ต.สายตะกู อ.บ้านกรวด จ.บุรีรัมย์ 1 ลูก พร้อมได้ยินเสียงปืนดังตลอดเวลาจึงต้องทำการอพยพ ชาวบ้าน ราว 2,500 คนออกจากพื้นที่[60] ทางกระทรวงต่างประเทศไทยส่งหนังสือประท้วงอย่างรุนแรงที่สุดผ่านเอกอัครราชทูตกัมพูชาประจำประเทศไทย[61] หลังจากเกิดเหตุการณ์การปะทะผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์ได้ประกาศอำเภอบ้านกรวดเป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติภาวะสงครามทั้งอำเภอ[62] ชวรัตน์ ชาญวีรกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้ประกาศให้ บริเวณปราสาทตาเมือนธม หมู่ที่ 8 ตำบลตาเมียง พื้นที่ หมู่ที่ 1-15 ตำบลแนงมุด หมู่ที่ 1-14 ตำบลโคกตะเคียน หมู่ที่ 1-20 ตำบลกาบเชิง หมู่ที่ 1-18 ตำบลด่าน หมู่ที่ 1-9 ตำบลตะเคียน อำเภอพนมดงรัก ในพื้นที่หมู่ที่ 1-20 ตำบลบักได หมู่ที่ 1-12 ตำบลตาเมียง หมู่ที่ 1-12 ตำบลจีกแดก หมู่ที่ 1-11 ตำบลโคกกลาง จังหวัดสุรินทร์ ทั้ง 2 ตำบล เป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติ อันเนื่องจากกองกำลังจากนอกประเทศ[63]และพลเอก ทรงกิตติ จักกาบาตร์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุดได้แถลงตอนหนึ่งว่า ในเวลานี้ไม่จำเป็นต้องเจรจากับใครหากชาติไทยถูกลุกล้ำ หรือถูกภัยคุกคามประเทศ ก็พร้อมที่จะใช้กำลังตอบโต้จนถึงที่สุด[64] และได้สั่งการเตรียมพร้อมยกระดับแผนป้องกันประเทศ[65]
      วันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2554 นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้ประกาศให้ อำเภอกาบเชิง ยกเว้นอำเภอคูตัน อำเภอปราสาท บางอำเภอ จังหวัดสุรินทร์เป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติ อันเนื่องจากกองกำลังจากนอกประเทศและมีทหารไทยเสียชีวิตเพิ่ม 1 นาย ด้านกัมพูชามีการอพยพประชาชนราว 5,000 คนในจังหวัดบันเตียเมียนเจย โดยย้ายออกไป 30 กิโลเมตรจากเขตสู้รบ[66][67]
      วันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2554 ได้มีการปะทะกันเป็นวันที่สาม ทหารไทยเสียชีวิต 1 นายได้รับบาดเจ็บ 6 นาย[68]
      วันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2554 ได้มีการปะทะกันเป็นวันที่สี่ อาสาสมัครทหารพรานเสียชีวิต 1 นาย[69] นายเสริม ไชยณรงค์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ ได้ประกาศให้พื้นที่ หมู่ที่ 1, 4, 6, 7, 9, 12, 13, 16, 18 ตำบลโคกสะอาด และหมู่ที่ 4,12 ตำบลโชคนาสาม อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์เป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติ อันเนื่องจากกองกำลังจากนอกประเทศ[70] พล.อ.ประยุทธ์ จันทรโอชา ได้ชี้แจงผ่านสื่อมวลชนว่าการจะประกาศสงครามกับประเทศกัมพูชาจำเป็นต้องให้คณะรัฐมนตรีเห็นชอบก่อน[71] กษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศของไทย ประกาศทบทวนนโยบายต่างประเทศกับประเทศกัมพูชาทั้งหมด โดยอ้างว่าทางการกัมพูชาไม่ต้องการการเจรจาจึงมีความจำเป็นต้องดำเนินการ[72]
      วันที่ 26 เมษายน พ.ศ.2554 โฆษกกระทรวงกลาโหมของไทย ได้แถลงว่ากองทัพมีความพร้อมทางยุทโธปกรณ์ ที่จะปกป้องอธิปไตยของประเทศและตอบโต้ตามความเหมาะสม กับปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้น ถ้อยแถลงนี้เกิดขึ้นมีขึ้นหลังจากการประชุมสภากระทรวงกลาโหมได้เสร็จสิ้นลง และหลังจากรัฐมนตรีต่างประเทศประกาศทบทวนนโยบายด้านการต่างประเทศกับประเทศกัมพูชาทั้งหมด ในขณะที่การปะทะได้ลุกลามออกไปที่จังหวัดศรีสะเกษ ตำบลเสาธงชัย อำเภอกันทรลักษ์[73] มีรายงานว่าจนถึงขณะนี้ ทหารไทยเสียชีวิต 5 นาย และได้รับบาดเจ็บมากกว่า 35 นาย ส่วนทหารกัมพูชาเสียชีวิต 7 นาย ได้รับบาดเจ็บ 17 นาย และอีก 1 นายหายสาบสูญ[74][75]
      วันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2554 ชาวบ้านอำเภอกาบเชิง เสียชีวิต 1 คน[76] รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมของไทยเดินทางไปเยือนสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนจีน โดยเป็นไปตามคำเชิญของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมจีน ทั้งนี้คาดว่าเป็นการหารือเรื่องความขัดแย้งไทย-กัมพูชา เนื่องจากกองทัพกัมพูชาได้รับการสนับสนุนจากประเทศจีน ซึ่งจากเหตุการณ์ดังกล่าว ได้มีสื่อกัมพูชาบางแห่งรายงานว่าไทยได้ยอมรับความพ่ายแพ้ที่เกิดขึ้น[77]
      วันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2554 มีการยืนยันว่าทหารไทยเสียชีวิตเพิ่มอีก 2 นาย[78][79] ตั้งแต่เวลา 20.20 น.ทหารกัมพูชายิงปืน ค.60 เข้ามาบริเวณปราสาทตาควาย 4 ลูก [80]ส่งผลให้ทหารไทยได้รับบาดเจ็บ ส่วนประเทศกัมพูชาได้ยื่นคำร้องต่อศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ เพื่อขอให้ศาลตีความคำพิพากษาคดีปราสาทพระวิหาร พ.ศ. 2505ที่ศาลได้ตัดสินเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2505 และในวันเดียวกันประเทศกัมพูชาได้ยื่นคำร้องต่อศาลยุติธรรมระหว่างประเทศเพื่อขอให้ศาลระบุมาตรการคุ้มครองชั่วคราวเพื่อรักษาสิทธิของกัมพูชาอย่างเร่งด่วน [81] วันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2554 ทหารไทยเสียชีวิตเพิ่มอีก 1 คน[82] โฆษกกองทัพไทยระบุว่าทหารไทยได้รับบาดเจ็บเพิ่มอีก 11 นาย รวมมีทหารได้รับบาดเจ็บรวม 58 นาย[83]
      วันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2554 การสู้รบดำเนินต่อไปเป็นวันที่เก้า ยังไม่มีรายงานผู้เสียชีวิตหรือทหารไทยบาดเจ็บ 10 นาย [84] วันเดียวกัน แม่ทัพภาคที่ 2 พลโท ธวัชชัย สมุทรสาคร ได้อาศัยอำนาจพระราชบัญญัติกฎอัยการศึก พ.ศ.2547 ให้พื้นที่ตำบลเสาธงชัย อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ เป็นพื้นที่ภัยสงคราม[85] นับเป็นครั้งแรกที่ทหารใช้อำนาจตามประกาศพระราชบัญญัติ กฎอัยการศึก พ.ศ.2547 ซึ่งประกาศมาตั้งแต่วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ.2550[86] โดยขับไล่ประชาชนไม่อนุญาตให้อยู่ในพื้นที่ และประกาศเป็นเขตภัยสงคราม[87]พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณเดินทางกลับจากสาธารณรัฐประชาชนจีน[88]
      วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 ทหารไทยได้รับบาดเจ็บสองนายจากการปะทะ ที่ บริเวณปราสาทตาควาย ต.บักได อ.พนมดงรัก จ.สุรินทร์ [89] ประชาชนเสียชีวิตที่ศูนย์อพยพสองรายสาเหตุจากความเครียดจากการปะทะตามแนวชายแดน[90] ฝ่ายกัมพูชามีทหารเสียชีวิต 1 นาย ทำให้เหตุการณ์ปะทะกันตั้งแต่เดือนเมษายนมีผู้เสียชีวิตแล้วรวม 17 คน แบ่งเป็นทหารกัมพูชา 9 นาย ทหารไทย 7 นาย และพลเรือนชาวไทยเสียชีวิต 1 คน ส่วนจำนวนผู้ได้รับบาดเจ็บนั้น ชาวไทยได้รับบาดเจ็บทั้งสิ้น 95 คน แบ่งเป็นทหาร 50 นาย และทหารกัมพูชาได้รับบาดเจ็บ 18 นาย[91][92] ด้านโฆษกกองทัพไทย พันเอกประวิทย์ หูแก้ว ระบุว่า ทั้งสองฝ่ายได้ปะทะกันด้วยอาวุธปืนอัตโนมัติตลอดคืนวันดังกล่าว และทางการไทยอ้างว่าไม่มีทหารไทยคนใดเสียชีวิตในเหตุปะทะกันดังกล่าว[93] ในช่วงบ่ายวันเดียวกัน รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมกัมพูชาออกแถลงการณ์ซึ่งประณามไทยจากเหตุปะทะกันนานสิบวัน มีใจความว่า "การรุกรานกัมพูชาของทหารไทยซ้ำแล้วซ้ำเล่าได้สร้างความเสียหายแก่กัมพูชาทีละน้อย นี่เป็นพฤติการณ์ที่ไม่อาจยอมรับได้"[94]
      วันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 ผู้บัญชาการทหารบกสั่งเตรียมเคลื่อนย้ายกำลังกรมทหารราบที่ 31 รักษาพระองค์หน่วยพร้อมรบเคลื่อนที่เร็ว (อาร์ทีเอฟ) ของกองทัพบกนอกจากนี้ผู้บัญชาการทหารบกสั่งเตรียมเคลื่อนย้ายกำลังกองทัพภาคที่ 3 โดยมีการสนธิกำลังจาก กองพลทหารราบที่ 4 (พล.ร. 4 ) จำนวน 1 กองพัน [95]ทหารไทยเสียชีวิต 1 นาย[96]
      วันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 รัฐมนตรีต่างประเทศของไทย นายกษิต ภิรมย์ เดินทางไปยัง กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เพื่อหารือกับ คณะที่ปรึกษาทางกฎหมายต่างชาติ เพื่อต่อสู้คดีภายหลังประเทศกัมพูชา ยื่นคำร้องต่อศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ[97]
      วันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 ชาวบ้าน ต.บักได อ.พนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์ทำการอพยพ หลังจากทราบข่าวว่ามีการเคลื่อนกำลังของกองทัพกัมพูชา บริเวณช่องกร่าง ซึ่งอยู่ตรงกลางระหว่างปราสาทตาควายกับปราสาทตาเมือนธม[98]
      วันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 ชาวบ้าน ต.บักได อ.พนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์ ได้รับการแจ้งว่ากองทัพกัมพูชากำลังทดสอบอาวุธปืนใหญ่ บริเวณชายแดนเพื่อปรับพิกัดอาวุธปืน จึงได้ยินเสียงปืนใหญ่เป็นระยะ ๆ[99] ในวันเดียวกันแม่ทัพภาคที่สองสั่งให้ทำการปิดพรมแดน โดยกล่าวว่ามีการส่งออกน้ำมันและยุทธปัจจัยไปยังประเทศกัมพูชา[100]
      วันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 และ วันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 กองทัพกัมพูชาทำการทดสอบอาวุธปืนใหญ่เป็นวันที่สองและสามส่งผลให้ชาวบ้านได้ยินเสียงปืนใหญ่มาจากฝั่งชายแดนประเทศกัมพูชาเป็นระยะ ๆ[101]

       มิถุนายน

      วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2554 อ.กันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ ชาวบ้านได้ยินเสียงปืนเอ็ม61 วัลแคนเอ็ม 16ปืนสั้นดังมาจากบริเวณภูมะเขือยาวนานกว่า 6 นาที[102]สร้างความหวาดกลัวแก่ชาวบ้าน