วันเสาร์ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ความขัดแย้งเรื่องระบบเศรษฐกิจ

   ความขัดแย้งเรื่องระบบเศรษฐกิจ

ได้แก่ ความขัดแย้งในเรื่องระบบเศรษฐกิจแบบเสรีหรือระบบ
ทุนนิยม กับระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์หรือสังคมนิยมจากหลักปรัชญาทางเศรษฐกิจที่แตกต่างกันทำให้
้เกิดความขัดแย้งกันเป็นระยะเวลากว่าครึ่งศตวรรษ  โดยกลุ่มคอมมิวนิสต์เชื่อว่า ระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนั้น
สร้างความไม่เป็นธรรมขึ้นในสังคม เพราะเหตุว่าโอกาสทางเศรษฐกิจถูกกำหนดด้วยเงินทุน ตามที่นักเศรษฐ
ศาสตร์เรียกว่า ระบบทุนนิยม   โดยผู้ที่มีทุนมากโอกาสทางเศรษฐกิจก็จะมากไปด้วย  ดังที่กล่าวกันว่า คนรวย
ก็จะรวยยิ่ง ๆ ขึ้นไป ส่วนคนจนก็จะจนลง  อันทำให้เกิดช่องว่างในสังคม และสังคมใดก็ตามที่มีช่องว่างทาง
สังคมมากสังคมนั้นก็ไม่สามารถดำรงอยู่ได้แต่เท่าที่ผ่านมาก็เป็นการพิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า ในระบบเศรษฐกิจ
แบบเสรีนั้น เปิดกว้างให้เกิดการแข่งขันโดยเอกชนอย่างเสรี ช่วยพัฒนาเศรษฐกิจและประเทศชาติให้เจริญ
ก้าวหน้าได้ชัดเจนดังตัวอย่างประเทศต่าง ๆในทวีปยุโรปและสหรัฐอเมริกา
    

        ความขัดแย้งในเรื่องกฎระเบียบทางการค้า  เช่น การตั้งกำแพงภาษีนำเข้าสินค้า ห้ามขายสินค้า
บางประเภท ห้ามต่างชาติประกอบการในบางธุรกิจ ตลอดจนการปฏิบัติต่อคู่ค้าในลักษณะที่ไม่เสมอภาคกัน
มีการให้อภิสิทธิ์ด้านการเสียภาษีนำเข้าที่เรียกว่า  G.S.P  การอุดหนุนสินค้าเกษตร  การคุ้มครองลิขสิทธิ์ สิทธิบัตรและทรัพย์สินทางปัญญา เป็นต้น

        ความขัดแย้งในการแสวงหาวัตถุดิบและแหล่งลงทุนราคาถูก  ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีนโยบาย
การแสวงหาแหล่งวัตถุดิบและแหล่งลงทุนราคาถูกนอกประเทศที่เด่นชัดมากที่สุด  ทั้งนี้เพราะประเทศญี่ปุ่น
นั้นขาดแคลนวัตถุดิบต้องอาศัยวัตถุดิบจากภายนอกประเทศเป็นสำคัญ   และฐานของแหล่งวัตถุดิบที่จะนำเข้า
ในระบบอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น คือ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้   นอกจากนี้ 
การที่ค่าแรงงานของญี่ปุ่นแพงต้องจ่ายภาษีอากรสูงจึงทำให้บริษัทใหญ่ๆ  ของญี่ปุ่น  เช่น บริษัทผลิตรถยนต์ บริษัทผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าจึงได้พยายาม
เข้าไปลงทุน เข้าไปตั้งบริษัท  เข้าไปตั้งฐานการผลิตในประเทศต่าง ๆ ใน
ภูมิภาคเอเชีย  โดยเฉพาะเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เกือบทุกประเทศจาก
นโยบายดังกล่าวทำให้เกิดความขัดแย้งกับประเทศอุตสาหกรรมอื่น ๆ ที่
ผลิตสินค้าในลักษณะเดียวกันโดยเฉพาะ ความขัดแย้งกับสหรัฐอเมริกาและ
กลุ่มประเทศตะวันตก ซึ่งมีส่วนแบ่งการตลาดในภูมิภาคเอเชียมากขึ้น  แต่
เนื่องจากญี่ปุ่นมีกลยุทธที่ดีกว่า   และอยู่ใกล้กว่าจึงสามารถเข้าไปตั้งฐาน
การผลิตและการลงทุนได้มากกว่า สหรัฐอเมริกาและกลุ่มประเทศตะวันตก  
และญี่ปุ่นก็สามารถแย่งส่วนแบ่งการตลาดส่วนใหญ่ในเอเชียมาได้หลังจาก
นั้นญี่ปุ่นได้หันมาขัดแย้งกับประเทศที่ญี่ปุ่นเข้าไปผูกขาดการตลาดและผูก
ขาดการลงทุนแทน  ดังเช่น การต่อต้านสินค้าญี่ปุ่นในประเทศไทยก่อนเหตุการณ์ 14  ตุลาคม  2516,  การต่อ
ต้านสินค้าญี่ปุ่นในเกาหลีเป็นต้นจากปัญหาทางเศรษฐกิจดังกล่าวมาแล้วข้างต้นทำให้เกิดภาวะที่เรียกว่าสงคราม
ทางเศรษฐกิจเกิดขึ้น ประเทศที่มีศักยภาพในทางเศรษฐกิจการค้า   ก็ระดมกลยุทธการแข่งขันทุกรูปแบบเข้าต่อ
สู้กัน ทั้งในทางที่อยู่ในกฎเกณฑ์กติกา    และทั้งนอกกฎเกณฑ์กติกา ส่งผลให้เกิดการเผชิญหน้า เกิดภาวะความ
ตึงเครียดทางเศรษฐกิจขึ้นทั่วโลก

แนวทางแก้ปัญหาความขัดแย้งทางเศรษฐกิจ
          1.การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ  เป็นการแก้ปัญหาความขัดแย้งได้ในระดับหนึ่ง  เช่น  ASEAN  OPEC หรือ EU  เป็นต้น


          2.การใช้มาตรการแก้ปัญหาขององค์การสหประชาชาติ สหประชาชาติจะเข้ามาแก้ไข
ปัญหาเมื่อเกิดความขัดแย้งจนกลายเป็นกรณีพิพาทระหว่างประเทศ เช่น ใน
ค.ศ. 1976 ได้ร่วมกับองค์การนาโต้แก้ปัญหากรณีพิพาทระหว่างอังกฤษกับ
ไอซ์แลนด์ในการแย่งชิงเขตการประมงที่เรียกว่า“สงครามปลาค็อด”กรณีอิรัก
ยึดครองคูเวตใน ค.ศ. 1990 เพื่อครอบครองแหล่งทรัพยากรน้ำมันเช่นเดียว
กัน


          3.การเจรจาทางการค้า
      ได้มีการประชุมนานาชาติโดยองค์การการค้าโลก  (WTO)  สร้างข้อ
ตกลงร่วมกันของประเทศสมาชิก  134  ประเทศ  โดยเน้นหนักเรื่องการค้าเสรีการจัดระบบภาษีอากรให้เป็น
ธรรม  และตลาดเสรี  ทำให้ความขัดแย้งทางเศรษฐกิจลดน้อยลง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น